บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม ต่อกลุ่มสาระการเรยนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

บทที่1
บทนำ
ควำมเป็นมำของหลักสูตรต่ำงๆ ในประเทศไทย
ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบการจัดการศึกษามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยระบบการศึกษาที่พบครั้งแรก คือ ระบบการศึกษาจากสมัยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา รวมถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งในการจัดการศึกษาของประเทศไทย จะมีพัฒนาการของหลักสูตรต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงประเทศไทยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาไทย ทั้งหมด 5 ครั้ง คือ พุทธศักราช 2503, 2521, 2533, 2544 และ 2551 ซึ่งในการศึกษารายงานฉบับนี้ ผู้จัดทารายงานได้ มีการศึกษาตามรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของกำรศึกษำรำยงำน
1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย
3. เพื่อศึกษาและทาการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ โดยใช้หลักตามทฤษฎี
4. เพื่อทาการอภิปรายผลหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ
ประโยชน์ที่จะได้รับจำกกำรศึกษำรำยงำน
1. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงความเป็นมาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงสภาพปัญหาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย
3. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงผลการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ โดยใช้หลักตามทฤษฎี
4. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงแนวทางของการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ
ซึ่งแต่ละหลักสูตร จะมีองค์ประกอบที่สาคัญของการปรับปรุง คือ1
1 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย. [Online] http://www.l3nr.org/posts/410600.
2
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทย ได้รับการศึกษาตามอัตภาพ โดยผู้เรียนจะต้องได้รับการศึกษาจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นอย่างน้อย ประกอบกับในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องนั้น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับ พ.ศ. 2503 นั้น จะมีการแบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 6 หมวด คือ หมวดคณิตศาสตร์ หมวดวิทยาศาสตร์ หมวดสังคมศึกษา หมวดภาษาไทย หมวดศิลปศึกษา และหมวดพลานามัย แต่สาหรับระดับประถมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศึกษาไทย พ.ศ. 2503 ได้มีการเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษและหัตถศึกษาเข้าไป และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ ได้มีการบังคับให้ผู้เรียน จะต้องมีการเรียนเลขคณิตและพืชคณิตตลอดเป็นเวลาทั้งหมด 3 ปี สาหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะแบ่งแผนกหรือสาขาการเรียนของผู้เรียน เพิ่มเติมอีก 3 แผนก คือ แผนกทั่วไป แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกศิลปะ เป็นต้น และหลักสูตรฯ ดังกล่าว จะมีเนื้อหาสาระที่สาคัญ คือ2
โครงสร้ำงระยะเวลำเรียน 4 : 3 : 3: 2 (:3) โดยหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ฉบับนี้ แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) อนุบาลศึกษา (2) ประโยคประถมศึกษา (3) ประโยคมัธยมศึกษา (4) อุดมศึกษา นอกจากนี้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 แบ่งหลักสูตรฯ ที่ต่อเนื่องกันเป็นตอน 2 ตอน คือ ประโยคประถมศึกษา และประโยคมัธยมศึกษา แต่ละตอนจาแนก คือ (1) ตอนที่ 1 หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนต้น 4 ปี ได้แก่ ชั้น ป.1 - ป.4 และหลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ได้แก่ ป.5 - ป.7 (2) ตอนที่ 2 หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ได้แก่ ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3 และหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นสายสามัญ 2 ปี (ม.ศ.4- ม.ศ. 5) และ สายอาชีพ 3 ปี (เทียบเท่า ม.ศ. 4 - ม.ศ. 6) (3) หลักสูตรพุทธศักราช 2503 ไม่ได้กาหนดการศึกษาภาคบังคับที่ระดับชั้นใด แต่กาหนดอายุเป็นเกณฑ์การเข้าเรียน และบังคับเรียนจนอายุครบ 15 ปีเป็นอย่างน้อย
จุดหมำยของหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503 คือ เพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 15 ปีตามเกณฑ์ เป็นการจัดการศึกษานั้นเพื่อ สนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 เป็นหลักสูตรประโยคประถมศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความเจริญแห่งตน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความสามารถในการครองชีพและมีความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
เนื้อหำสำระของหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503 คือ การนาเอาเนื้อหาขององค์สี่มาใช้ในการจัดการศึกษา ได้แก่ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา และใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาวิชา และกาหนดเนื้อหาเป็นหมวดวิชาต่างๆ คือ
2 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). วิเคราะห์เปรียบเทียบและการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย. [Online] http://rppiyachan.wordpress.com/
3
- ประโยคชั้นประถมศึกษาตอนต้น 4 ปี แบ่งเนื้อหาเป็น 6 หมวดใหญ่ ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ (3) สังคมศึกษา (4) ภาษาไทย (5) ศิลปศึกษา (6) พลานามัย
- ประโยคชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3 ปี แบ่งเนื้อหาเป็น 8 หมวด ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ (3) สังคมศึกษา (4) ภาษาไทย (5) ศิลปศึกษา (6) พลานามัย (7) ภาษาอังกฤษ (8) หัตถศึกษา เพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษ และหัตถศึกษา
- แบ่งเป็นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3) ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นสายสามัญ และสายอาชีพ
- ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3) แบ่งเป็นสายสามัญและ สายอาชีพ ทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพีชคณิต ในเนื้อหาเดียวกัน สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ตลอดทั้ง 3 ปี และเรียนวิชาเฉพาะสายอีก 2 ชั่วโมง
- ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น สายสามัญและสายอาชีพ สายสามัญ (ม.ศ. 4 – ม.ศ. 5) แบ่งเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกทั่วไป แผนกศิลปะ ส่วนสายอาชีพ เรียน 3 ปี (ม.ศ. 4 – ม.ศ. 6) เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ แบ่งเป็น 2 หมวด ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ ก. เป็นวิชาบังคับเรียนในสายสามัญ (2) แผนกวิทยาศาสตร์ และสายอาชีพเรียน ในเนื้อหาเดียวกันสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง (2) คณิตศาสตร์ ข. เป็นวิชาบังคับเรียน ของแผนกศิลปะและแผนกทั่วไปใน สายสามัญ ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 แบ่งการเรียนเป็นปีละ 3 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคต้น ภาคกลาง และภาคปลาย จัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระตามกระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้ในหลักสูตร เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาวิชาและใช้รูปแบบการสอนตามแบบตะวันตก เป็นต้น
กำรวัดผลประเมินผล
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 จะมีการวัดผลประเมินผลโดยตัดสินผลการเรียนด้วยการสอบวัดผลรายปี จากการจัดการสอบวัดผล 2 ครั้ง ได้แก่ การสอบระหว่างปี 1 ครั้งและสอบไล่ปลายปี แล้วนาคะแนนรวมกับการสอบกลางปี ตัดสินผลการเรียนเป็นร้อยละ นักเรียนต้องสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงถือว่าสอบได้ ถ้าได้ต่ากว่าร้อยละ 50 คือ สอบตกต้องเรียนซ้าชั้น
แต่เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ไม่ได้มีการกาหนดเป็นเกณฑ์ภาคบังคับแต่ใช้อายุเป็นเกณฑ์คือให้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 15 ปี นักเรียนประถมศึกษาบางคน อาจจะเรียนไม่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ถ้ามีอายุครบ 15 ปี ดังนั้น ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช จึงจะต้องมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายขึ้นไป เป็นการศึกษาตามอัธยาศัยหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไข ในปี พุทธศักราช 2512 แต่ยังยึดรูปแบบเดิม มีเปลี่ยนบางส่วน คือ ให้เอกชนเข้ามาจัดการศึกษาในระดับอนุบาลถึงมัธยม โดยที่รัฐมีอานาจหน้าที่ควบคุมแนะนาและตรวจสอบการจัดการศึกษาของเอกชน
4
โดยระดับประถมศึกษาอาจจัดในโรงเรียนเดียวกันได้ทั้งระดับประถมศึกษาต้อนต้นและตอนปลาย การจัดชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาอาจจัดในโรงเรียนเดียวกันได้ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาจัดให้มีการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์ ต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย อีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2518 เรียกหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2518 หลังจากนั้นการศึกษาไทยได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 เนื่องจากการศึกษาตามหลักสูตร 2503 ไม่สามารถพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การศึกษาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เป็นการศึกษาแบบแพ้คัดออก คนมีโอกาสเรียนในระดับสูงน้อยมาก
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 ถึงหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรังปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคม และประเทศชาติ ซึ่งเนื้อหาสาระของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2501 ฉบับนี้ แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาในปีพ.ศ. 2533 โดยทาการเพิ่มจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทาประโยชน์เพื่อสังคม ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) ได้มีการเพิ่มเนื้อหาสาระ คือ วิชาบังคับแกน ได้แก่ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา และวิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม เป็นต้น3 ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้เกิดขึ้นจากการอาศัยอานาจแห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศกาหนดการเปลี่ยนระบบชั้นเรียนและการใช้หลักสูตรใหม่ ทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี ตามแผนการศึกษาชาติ 2520 เรียก หลักสูตร พุทธศักราช 2521 เป็นการเปลี่ยนใหม่ทั้งระบบ ให้มีระดับประถมศึกษา 6 ปี ยกเลิกชั้นประถมศึกษาปีที่7 ระดับมัธยมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาใช้อักษรย่อว่า “ม.” ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเปลี่ยนระดับชั้นและหลักสูตรเป็นระยะเวลา 6 ปี ดังนั้นในช่วงเวลา 6 ปีจัดการศึกษา 2หลักสูตร ดังนี้4
3 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). _________________.
4 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). _________________.
5
ระดับประถมศึกษำ
ปี พ.ศ. 2521 ป. 1 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 2 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2522 ป. 1 - 2 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 3 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2523 ใช้ ป. 1 - 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 4 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2524 ใช้ ป. 1 - 4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 5 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2525 ใช้ ป. 1 - 5 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2526 ใช้ ป. 1 - 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ใช้หลักสูตรใหม่ทั้งระบบ
ระดับมัธยมศึกษำ
ปี พ.ศ. 2521 ใช้ ม. 1 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 1-3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2522 ใช้ ม. 1- 2 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 2-3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2523 ใช้ ม. 1- 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2524 ใช้ ม. 1-4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2525 ใช้ ม. 1-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2526 ใช้ ม. 1-4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521
นอกจากนี้ การจัดระบบชั้นเรียนในหลักสูตรฯพุทธศักราช 2521 โครงสร้างระยะเวลาเรียน 6 : 3 : 3 คือ หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 เป็นหลักสูตรซึ่งกาหนดมาจากส่วนกลาง แบ่งเวลาเรียนเป็นปีละ 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ เปิดสอนสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 7 คาบ ใช้เวลาเรียนคาบละ 50 นาที และมีกิจกรรมในเวลาเรียน 1 คาบ/สัปดาห์ ผู้เรียนต้องเรียนให้ครบตามที่หลักสูตรกาหนดแต่ต้องผ่านวิชาบังคับภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีตกซ้าชั้น สอบตกวิชาใดเรียนซ่อมวิชานั้นๆ กาหนดการเรียนเป็นหน่วยการเรียน ซึ่งมีน้าหนักสัมพันธ์กับเวลาเรียน เช่น 4 คาบ / สัปดาห์ มีน้าหนัก 2 หน่วยการเรียน หลักสูตรเป็นผู้กาหนดจุดประสงค์และคาอธิบายรายวิชาไว้ทุกรายวิชา
จุดมุ่งหมำย
หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้มีความรู้ความสามารถ มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ และหลักสูตรพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทาประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หลักสูตรมัธยมศึกษาได้กาหนดจุดประสงค์รายวิชาและคาอธิบายรายวิชาไว้ครบถ้วนทุกรายวิชา ประกอบด้วย (1) ให้เล็งเห็นความสาคัญของภาษาไทย ในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารของประชาชาติ และเป็นปัจจัยทะนุบารุงความสามัคคีของประชาชาติ (2) ให้เข้าใจว่าการใช้ภาษาไทยได้ดี
6
เป็นการช่วยให้เกิดความร่วมมือของคนในชาติ นามาซึ่งความสมัครสมานกัน และทาให้สามารถประกอบกิจการต่างๆได้โดยมีประสิทธิภาพ (3) ให้สามารถใช้ภาษาไทยได้โดยรู้ที่เหมาะที่ควร ตามวัยและศักยภาพของนักเรียนเพื่อประโยชน์ทั้งในการศึกษาวิชาต่างๆ และในการดาเนินชีวิต (3) ให้มีความใคร่รู้ใคร่เรียน พอใจที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านและฟัง (4) ให้สามารถคิดค้นปัญหาที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ที่ได้ฟังได้อ่านโดยใช้วิจารญาณ รู้จักขบปัญหาเหล่านั้นจนเกิดปัญญา มีความคิดแจ่มแจ้งขึ้นเป็นลาดับและนาผลจากการคิดค้นที่ถูกต้องไปปฏิบัติในการดาเนินชีวิต (5) ให้สามารถพิจารณาหนังสือ งานเขียน งานประพันธ์ที่ได้อ่าน ให้แลเห็นทั้งส่วนดีและส่วนบกพร่อง (6) ให้เห็นคุณค่าของวรรณคดีและความสาคัญของงานประพันธ์กับการใช้ภาษาโดยมีรสนิยมว่าเป็นสิ่งสาคัญในวัฒนธรรมของชาติ
เนื้อหำ
เนื้อหาวิชาที่จัดให้เรียนของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น ส่วนกลางเป็นผู้กาหนดทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกระดับประถมศึกษา เนื้อหาสาระที่เรียนมี 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) (2) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต (3) กลุ่มลักษณะนิสัย (4) กลุ่มการงาน ต่อมาปรับปรุงใหม่เป็น หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ปรับปรุง 2533) ได้จาแนกเนื้อหาสาระที่เรียนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาบังคับแกน มีวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา (2) วิชาบังคับเลือก มีวิชาเลือกเสรี และกิจกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา แบ่งเป็น หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2521 แบ่งเนื้อหาสาระเป็น 5 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มมีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ได้แก่
1. กลุ่มวิชาภาษา ได้แก่ ภาษาไทย (วิชาบังคับและวิชาเลือก) และภาษาต่างประเทศ (วิชาเลือก)
2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (บังคับ) คณิตศาสตร์ (วิชาบังคับและวิชาเลือก)
3. กลุ่มวิชาสังคมศึกษา ได้แก่ วิชาสังคมศึกษา เป็นวิชาบังคับ และมีวิชาเลือก
4. กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ วิชาพลานามัย (วิชาบังคับและวิชาเลือก) ศิลปศึกษา (วิชาบังคับและวิชาเลือก) กิจกรรมต่างๆ (วิชาบังคับ)
5. กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ ได้แก่ วิชาการงาน (บังคับ) อาชีพ (เลือก)
* หมายเหตุ เนื้อหาในกลุ่มวิชาภาษาไทย จะแยกเป็นทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียนหลักภาษา เนื้อหาในส่วนที่เป็นหลักภาษาไทยได้กาหนดไว้ชัดเจนว่ามีเนื้อหาเรื่องใดบ้าง
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น จะมีการจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ปีละ 2 ภาคเรียน การเรียนจัดเป็นระบบหน่วยการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนปีละ 33 หน่วยการเรียน วิชาภาษาไทยแบ่งเป็นวิชาบังคับ ปีละ 2 รายวิชา วิชาละ 2 หน่วยการเรียน การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชาที่หลักสูตรกาหนด
7
ไว้ โดยการอ่านทานองเสนาะตามคาประพันธ์ให้เป็นไปตามหนังสือเรียน ด้านการเขียนนอกจากการเขียนแบบต่างๆ แล้วได้กาหนดให้เขียนตามคาบอก การเขียนตัวสะกดการันต์ ในแต่ละชั้นเรียนจะกาหนดไว้ชัดเจนด้านเนื้อหาที่ต้องนามาจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเน้นที่เนื้อหาวิชาตามที่ส่วนกลางกาหนด การจัดการเรียนการสอนจึงจัดโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาเป็นส่วนมาก
กำรวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น จะมีการวัดผลการเรียนเป็นหน่วยการเรียน แบ่งระดับผลการเรียน เป็น 4 3 2 1 และ 0 โดยเทียบกับร้อยละ ต่ากว่าร้อยละ 50 ได้ระดับผลการเรียน 0 ร้อยละ 50-59 ได้ระดับผลการเรียน 1 ร้อยละ 60-69 ได้ระดับผลการเรียน 2 ร้อยละ 70-79 ได้ระดับผลการเรียน 3 ร้อยละ 80 ขึ้นไปได้ระดับผลการเรียน 4 และได้กาหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น เช่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนต้องเรียนผ่านทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกรวมกันไม่ต่ากว่า 90 หน่วยการเรียน แต่ต้องผ่านวิชาบังคับ วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีการเรียนซ้าชั้น ถ้าสอบตกวิชาใดสามารถสอบแก้ตัวได้
ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การใช้ หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 ได้เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2524 ซึ่งตามหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)มีอยู่ 3 ฉบับ คือ
1. หลักสูตรประถมศึกษา 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. หลักสูตรมัธยมศึกษาศึกษาตอนต้น 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
3. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้มีการปรับปรุงมาเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2533 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2533) โดยมีรายละเอียดของการปรับเปลี่ยน คือ
โครงสร้างเวลา เป็นในลักษณะ 6:3:3 คือ ระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ระยะเวลาที่ใช้ 2521 – 2543
หลักการ/แนวคิด สนองความต้องการของสังคม เป็นหลักสูตรแบบเน้นสาระที่เป็นความเป็นจริง
จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาสติปัญญาและเหตุผล แสวงหาความรู้เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต
เนื้อหา เนื้อหาต่างๆ ส่วนกลางเป็นผู้กาหนด จาแนกเป็นวิชาบังคมและวิชาเลือก มี 5 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มวิชามีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ภาษาอังกฤษ เป็นวิชาเลือก ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจัดเนื้อตามแผนการเรียน
8
การจัดประสบการณ์ ปรัชญาสารัตถนิยม และผสมผสาน เน้นเนื้อหาวิชา การประเมินผลวัดผลเป็นรายจุดประสงค์ ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค แต่ละวิชามีผลการเรียน 4 3 2 1 0 นาผลการเรียนแต่ละวิชาคูณด้วยน้าหนักของหน่วยการเรียน แล้วรวมหาค่าเฉลี่ย 0 – 4 ซึ่งกาหนดเกณฑ์การจบในแต่ระดับชั้นโดยใช้จานวนหน่วยการเรียนตามเกณฑ์ ต้องสอบผ่านวิชาบังคับภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีการเรียนซ้าชั้น สอบไม่ผ่านรายวิชาใดสามารถสอบแก้ตัว
ข้อจากัดของหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 และฉบับปรับปรุงแก้ไข 2533 ประกอบด้วย (1) การกาหนดหลักสูตรจากส่วนกลางไม่สามารถสะท้อนสภาพความต้องการของท้องถิ่นและสถานศึกษา (2) การจัดหลักสูตรและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังไม่สามารถผลักดันให้ปะเทศไทยเป็นผู้นาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (3) การนาหลักสูตรไปใช้ยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานทางการคิด (4) การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารและค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น และมีการแบ่งสาระการเรียนรู้ ออกเป็น 8 กลุ่มสาระ คือ (1) สาระการเรียนรู้ภาษาไทย (2) สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (3) สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (4) สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา (5) สาระการเรียนรู้ศาสนา (6) สาระการเรียนรู้วัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา (7) ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (8) และภาษาต่างประเทศ โดยสาระการเรียนรู้ จะมุ่งที่การใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน5 ตามการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ดังนี้6
จุดมุ่งหมำย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
5 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). ________________.
6 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). ________________.
9
เนื้อหำตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สามารถแบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรกาหนดสาระการเรียนรู้และจานวนเวลาเรียนไว้กว้างๆ กลุ่มวิชาต่างๆ เป็นผู้กาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ คาอธิบายรายวิชาและเนื้อหา สถานศึกษาเป็นผู้กาหนดคุณลักษณะผู้เรียน
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จะมีการจัดประสบการณ์เรียนรู้มีความยืดหยุ่น ผู้ใช้หลักสูตรเป็นผู้กาหนดเนื้อหาสาระ เวลาเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทาให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนรู้ เน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ
กำรวัดผลและประเมินผลตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จะมีการกาหนดการวัดผลและประเมินผลมีลักษณะเช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 คือ วัดผลเป็นหน่วยการเรียน มีเพิ่มเติมระดับผลการเรียนจาก 4 3 2 1 เป็นคะแนนร้อยละ คือ
ร้อยละ 50 – 54 เป็นระดับผลการเรียน 1
ร้อยละ 55 – 59 เป็นระดับผลการเรียน 1.5
ร้อยละ 60 – 64 เป็นระดับผลการเรียน 2
ร้อยละ 65 – 69 เป็นระดับผลการเรียน 2.5
ร้อยละ 70 – 74 เป็นระดับผลการเรียน 3
ร้อยละ 75 – 79 เป็นระดับผลการเรียน 3.5
ร้อยละ 80 ขึ้นไป ระดับผลการเรียน 4
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 25517 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยมีการกาหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก พร้อมทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรฯ ให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งเน้นการกระจายอานาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งมีหลักการในการพัฒนา
7 กระทรวงศึกษาธิการ. 2557. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ
10
หลักสูตรฯ คือ (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ (2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นเป้าหมายสาหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล (3) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ (4) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอานาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น (5) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ (6) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (7) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาสาหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
นอกจากนี้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียน คือ (1) มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต (3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย (4) มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ (5) การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีคุณลักษณะที่สาคัญ คือ8
จุดหมำยของหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกาหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในการปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดมั่นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งบาเพ็ญประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
8 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). ___________________.
11
เนื้อหำตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีเนื้อหาต่างๆ ที่สาคัญ ประกอบด้วยสมรรถนะหลักที่ผู้เรียนพึงมี ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสารการคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ กาหนดมาตรฐานเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมดุลทั้งทางสมองและพหุปัญญา แบ่งเนื้อหาเป็น 8 กลุ่มสาระ หลักสูตรได้กาหนดสาระและมาตรฐานรวมทั้งตัวชี้วัด โดยปรับเปลี่ยนจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แบ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน มี 2 กิจกรรม (กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีและกิจกรรมชุมนุม) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กำหนดเนื้อหำกำรเรียนเป็นหน่วยกำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ได้กาหนดตัวชี้วัดและรหัสตัวชี้วัด แทนผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดจะระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ กาหนดคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม ดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามเป้าหมายของตัวชี้วัด แบ่งตัวชี้วัดเป็น 3 ระดับ ระดับประถมศึกษา (ป. 1-6) ตัวชี้วัดใช้อักษร ป. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวชี้วัดใช้อักษร ม. 1 - 3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวชี้วัดใช้อักษร ม. 4 – 6
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีการจัดการเรียนรู้ มีกระบวนการและวิธีที่หลากหลาย ผู้สอนต้องคานึงถึงธรรมชาติของวิชา และต้องคานึงถึงการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ การอยู่ร่วมกันในสังคม ควบคู่กับสติปัญญา เลือกวิธีจัดการเรียนการสอนที่เน้นรูปแบบผู้เรียนเป็นสาคัญ ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ศึกษาค้นคว้า ฝึกการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ศึกษาวิเคราะห์ เลือกรูปแบบการสอนและทฤษฎี การสอนมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องให้ความสาคัญกับสื่อการเรียนการสอน ศึกษาวิเคราะห์ เลือกใช้สื่อหลายประเภท ให้มีความเหมาะกับเนื้อหาและกิจกรรม
กำรวัดผลและประเมินผลตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนควรจัดควบคู่กันไปตลอดเวลา เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การเรียน พัฒนาการระหว่างเรียนทุกด้านของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทดสอบเป็นระยะๆ และปลายภาค/ปลายปี นามาบันทึก วิเคราะห์ แปล
12
ความหมาย รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งด้านพัฒนาการของผู้เรียนและผลการทดสอบ วัดผลประเมินผลให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านเนื้อหาสาระ มาตรฐานตัวชี้วัด สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน ใช้วิธีวัดที่หลากหลาย สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา ลักษณะเนื้อหาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทาให้ผู้จัดทารายงาน พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 ถึง พุทธศักราช 2551 ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆ ให้เข้ากับบริบทของแต่ละยุค แต่ละสมัย ซึ่งรายละเอียดการปรับเปลี่ยน ผู้จัดทารายงาน ได้ทาการศึกษาข้อมูลมาจากกรรณิการ์ ทองดี (2557) ระพีร์ ปิยจันทร์ (2557) กระทรวงศึกษาธิการ (2557) และนักวิชาการท่านต่างๆ ที่ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับต่างๆ สามารถสรุปประเด็นสาคัญของกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ตามตารางต่อไปนี้
13
ตาราง 1.1 แสดงผลการเปรียบเทียบหลักสูตร พุทธศักราช 2503 – 2551
ข้อเปรียบเทียบ
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งให้ผู้เรียนมีความเจริญแห่งตน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความ สามารถในการครองชีพและมีความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
หลักสูตรมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มุ่งให้เกิดแก่ผู้เรียน
หลักสูตรไม่ได้กาหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วางแนวทางให้สถานศึกษากาหนดเอง
กาหนดไว้ชัดเจน และเพิ่มเติมคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ รวมทั้งกาหนดไว้ในเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน
การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้
ปรัชญาสารัตถนิยม เน้นเนื้อหาวิชา เน้นการสอนแบบบรรยาย และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบ่งการเรียนเป็นปีละ 3 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคต้น ภาคกลาง และภาคปลาย จัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระตามกระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้ในหลักสูตร เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหา วิชาและใช้รูปแบบการสอนตามแบบตะวันตก
วัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชากาหนดไว้เป็นภาพรวม 3 ด้าน คือ
- ด้านพุทธิพิสัย
- ด้านทักษะพิสัย
- ด้านจิตพิสัย
ทั้งนี้จะแตกต่างกันไปตามหลักสูตร มีจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นตัวกาหนดทิศทางการจัดการเรียนการสอน โดยปรัชญา
สารัตถนิยม และผสมผสาน เน้นเนื้อหาวิชา
มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระหมายถึงผลการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ ครอบคลุม 3 ด้าน
- ด้านความรู้
- ด้านทักษะกระบวนการ
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
และ ใช้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสถานศึกษาเป็นตัวกาหนดการสอน
สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งกาหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจาเป็นต้องเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
มาตรฐาน ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้
เรียนตามเอกัตภาพตามอัธยาศัย
จุดประสงค์ของการเรียนรู้รายวิชา และคาอธิบายรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรค่อนข้างตายตัว
มาตรฐานและสาระการเรียนรู้เป็นแนวทางให้กลุ่มสาระกาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
กาหนดตัวชี้วัดและสาระแกนกลางไว้ชัดเจน ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น กาหนดเป็นรายปี มัธยมศึกษาตอนปลายกาหนดเป็นช่วงชั้น
เนื้อหารายวิชา / สาระการเรียนรู้
เน้นองค์สี่ (พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา หัตถศึกษา) กาหนดเป็นหมวดวิชา ส่วนกลางเป็นผู้กาหนด
เนื้อหารายวิชาหลักสูตรกาหนดไว้ในคาอธิบายรายวิชาว่าจะเรียนอะไรบ้าง
สาระการเรียนรู้กาหนดเป็นช่วงชั้น เพื่อความยืดหยุ่นของสถานศึกษา
กาหนดสาระมาตรฐานการเรียนรู้ไว้เป็น 8 กลุ่มสาระเช่นเดิม และปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ให้ชัดเจน ลดความ
13
14
ข้อเปรียบเทียบ
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
ซ้าซ้อนเหลือ 67 มาตรฐานการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผล
นักเรียนต้องสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงถือว่าสอบได้ ถ้าได้ต่ากว่าร้อยละ 50 คือ สอบตกต้องเรียนซ้าชั้น
การวางแผนการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้
- ทาโครงการสอนรายปีรายภาค
- วางแผนการประเมินยึดจุดประสงค์การเรียนรู้
- ทาแผนการสอนรายคาบ
การวางแผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้
- จัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ
- วางแผนการประเมินยึดมาตรฐานการเรียนรู้
- จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5. สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ
* ที่มา: จากการศึกษากรรณิการ์ ทองดี (2557) ระพีร์ ปิยจันทร์ (2557) กระทรวงศึกษาธิการ (2557) และนักวิชาการท่านต่างๆ
14
15
จากข้อมูลดังกล่าว ทาให้ผู้จัดทารายงาน พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนามาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 - พุทธศักราช 2544 เป็นลาดับ และมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น