บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง    การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ

เรื่อง                    การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
ผู้ศึกษา                 นางณัชตา   ธรรมธนาคม
สถานศึกษา            โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ สำนักงานเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา             2557
บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ผู้จัดทำรายงาน พบว่า ในการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ นั้น ควรมีการพัฒนาหลักสูตรที่มีรูปแบบหลักสูตร ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และสาขาวิชาที่จะเรียน         ซึ่งหลักการแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เป็นแบบแผนการดำเนินหลักสูตรฯ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ครอบคลุมการพัฒนาทั้งทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย ทักษะกระบวนการ การบูรณาการ และการเรียนรู้แบบองค์รวม ซึ่งรูปแบบแต่ละรูปแบบจำเป็นต้องอาศัยหลักการ แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ในการจัด หลักสูตรกลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด รวมถึงผู้สอนจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียน จัดเตรียมข้อสอบ ตรวจข้อสอบ วิเคราะห์ข้อสอบ ซึ่งครูผู้สอนจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากผู้ตรวจสอบคุณภาพ หรือหัวหน้ากลุ่มการเรียนรู้ รวมทั้งผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างและออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ ต้องคำนึงถึงเนื้อหาวิชาสำหรับการเรียนรู้เป็นรายบุคคล รวมถึงครูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาฯ ให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทธศักราช. 2551 และตามหลักสูตรสถานศึกษา
ข้อค้นพบที่สำคัญของการศึกษารายงานในครั้งนี้ คือ
1. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ยังขาดการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร
2. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ไม่สามารถนำไปใช้ในการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้งานจริงได้ เนื่องจากข้อจำกัดในหลายๆ ประการ
ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า
1. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ควรจะต้องมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ หรือบุคคลต่างๆ ในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ที่มีความเหมาะสมต่อไป
2. ครูผู้สอน ควรจะต้องมีการดำเนินการสร้างแบบประเมินหลักสูตรขึ้นมา จำนวน 1 ฉบับ หรือ 1 ชุด ซึ่งจะเป็นแบบประเมินถึงสภาพปัญหาของการนำหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง แล้วครูผู้สอนจะต้องจดบันทึกปัญหาที่พบต่างๆ และหาแนวทางการแก้ไขต่างๆ เพื่อทำให้เมื่อครบปีการศึกษา ครูผู้สอนจะทำการปรับปรุงหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนากศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

บทที่ 2
สภำพปัญหำของหลักสูตรต่ำงๆ ในประเทศไทย
การศึกษา เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ในครั้งนี้นั้น ผู้จัดทารายงาน จะนาเสนอเกี่ยวกับสภาพปัญหาต่างๆ ของหลักสูตรแต่ละฉบับในประเทศไทย โดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ เพื่อนามาสู่การพัฒนาเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ต่อไปในอนาคต ซึ่งสภาพปัญหาต่างๆ ผู้จัดทารายงาน ได้สรุปประเด็นปัญหาที่สาคัญ แบ่งออกเป็น 4 ปัญหา คือ
1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบาย
2. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้ปฏิบัติงาน
3. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบการศึกษาของไทย
4. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551
ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทั้ง 4 ประการข้างต้น มีรายละเอียดต่างๆ ที่สาคัญ ดังต่อไปนี้
1. ปัญหำที่เกิดขึ้นจำกนโยบำย
ในการศึกษาของอาภรณ์ รัตน์มณี (2553)9 พบว่า จากผลการติดตามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาในระยะ 6 ปี เป็นต้นมา โดยเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2552 จะพบว่า ภายหลังที่ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประเมินจากคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 17,562 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 49.1 ของโรงเรียนทั้งหมด คือ การจัดการเรียนการสอนของครูในปัจจุบัน ยังยึดการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และการสอนแบบดังกล่าว จะมีคุณภาพอยู่ในระดับร้อยละ 39.2 และการสอนดังกล่าวจะเป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นผู้เรียนได้รู้จักกระบวนการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา และการตัดสินใจ มีคุณภาพอยู่ระดับ ร้อยละ 13.5 และครูสามารถนาผลการประเมินมาปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเพียงร้อยละ 21.6 ของสถานศึกษาทั้งหมด แต่ยังพบกับปัญหาที่สาคัญในเชิงนโยบาย คือ
1. ปัญหาเชิงนโยบายจากการที่รัฐบาลในหลายยุค หลายสมัย ยังไม่ให้ความสาคัญต่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างครบถ้วน และมีแนวทางการกาหนดนโยบายทางการบริหารการศึกษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาที่ผู้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีในกระทรว'นั้น ยังเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ มีความสามารถเท่าที่ควร และไม่เคยผ่านงานในการบริหารการศึกษา หรือการบริหารหลักสูตรต่างๆ หรือแม้กระทั่ง ไม่เคยผ่านการสอนจริง เป็นต้น
9 อาภรณ์ รัตน์มณี. 2553. ''ทาไมระบบการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า ''. [online] http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=878&articlegroup_id=203.
17
2. ปัญหานโยบายที่ทาให้ผู้เรียนไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยจากการศึกษาของปิตินันท์ สุทธิสาร (2557)10 ที่ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับปัญหานโยบายของหลักสูตรในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถทาให้ผู้เรียนอ่านออกได้ เป็นผลมาจากการที่ในการจัดการศึกษาในกลุ่มจังหวัดชนบทนั้น
2.1 นโยบายของครูในระดับประถมศึกษาปัจจุบัน จะมีการสอนจานวน 8 กลุ่มสาระวิชา และครูในชนบทจะมีจานวนจากัด ซึ่งครู 1 คน จะดูแลนักเรียนเป็นจานวนมาก ประกอบกับครูชนบทบางคน จะไม่ถนัดในสาขาวิชาบางอย่าง จึงทาให้ไม่สามารถดาเนินการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 นโยบายของตาราการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันได้บังคับใช้นั้น บางโรงเรียนไม่สามารถนามาใช้ เนื่องจากเนื้อหาในตาราการสอนภาษาไทยที่ใช้อยู่ในตาราที่บังคับนั้น เป็นการสอนที่ผิด จึงทาให้ครูบางท่าน ไม่นาตาราดังกล่าวเข้ามาใช้สอน
2.3 นโยบายของปัญหาการประเมินการสอนของครูชนบทในรายงานต่างๆ ระบุว่า ครูชนบทไม่มีศักยภาพในการสอนเท่าที่ควร เพราะครูชนบทไม่สามารถสอนผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้นั้น เป็นผลมาจากการศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ก็ได้มีการระบุว่า ในการจัดการศึกษาจะต้องให้คานึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน แต่การประเมินตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ กลับประเมินในภาพรวม ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน จึงเป็นเหตุผลว่า ทาไมผู้เรียนในชนบทถึงไม่ผ่านเกณฑ์ต่างๆ
2.4 นโยบายของการที่มีจานวนครูที่อยู่ในชนบท แตกต่างกับครูที่อยู่ในเมือง หรือเมืองใหญ่ๆ ซึ่งครูชนบทหนึ่งคนจะดูแลนักเรียนเป็นจานวนมาก และครูคนเดียว จะสอนนักเรียนในทุกสาขาวิชา ซึ่งแตกต่างกับครูในเมือง ที่มีจานวนมาก มีเงิน มีวัสดุ อุปกรณ์การสอนที่พร้อม และประเด็นนี้ ทางรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการก็ไม่สนใจ และไม่แก้ไขปัญหาดังกล่าว
2.5 นโยบายของการกาหนดหลักสูตรต่างๆ มาจากการที่กลุ่มรองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ หรือผู้จบการศึกษาปริญญาเอก ได้จัดทาขึ้นตามความคิดของตนเอง แต่ขาดการบูรณาการหรือการศึกษาตามสภาพที่แท้จริงของชนบท เช่น ในชนบทควรจะต้องมีการสอนแบบให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตจริงได้ หรือสอนการงานอาชีพ เพื่อให้นักเรียนสามารถนาไปประกอบอาชีพต่างๆ ช่วยบิดา มารดาลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้เรียนในชนบทหลายคนไม่มีเงินซื้ออาหาร จึงต้องทางานแลกเงิน เพราะฐานะทางครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน เป็นต้น แตกต่างกับผู้เรียนในเมือง ที่บิดา มารดามีความพร้อมในหลายๆ ด้าน
2.6 นโยบายของปัญหาที่แท้จริงของหลักสูตร คือ หลักสูตรในปัจจุบันไม่ได้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้ เพราะสนใจกับผลลัพธ์ในการศึกษามาก สนใจตัวชี้วัดมากจนเกินไป จึงทาให้ผู้บริหารโรงเรียนในชนบทหลายท่าน หันกลับไปใช้โครงสร้างหลักสูตรเดิม ที่เน้นเรื่องของการสอนอ่าน เน้นการคิดเลข และค่อยมาพัฒนาผู้เรียนในสาขาอื่นๆ ตามมาในภายหลัง
2.7 นโยบายของการใช้ตาราเรียนภาษาไทยในปัจจุบันที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การเรียนการสอนประถมศึกษาปีที่ 1 ในอดีต ได้มีการเรียนคาว่า มานี มานะ จะปะ กะทะ มะระ อะไร มันถูก
10 ปิตินันท์ สุทธิสาร. 2557. ครูบ้านนอกชี้ นโยบายอัด 8 สาระวิชา-โครงสร้างหลักสูตร ทาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้. สานักข่าว ทีนิวส์ วันที่ 1 สิงหาคม 2557.
18
เรียงให้ผู้เรียนเข้าใจการประสมคาจากง่ายไปยาก จนถึงประถมศึกษาปีที่ 4 จึงมีคาว่า เพชร เห็ด เสริมเข้ามา แต่ตาราสมัยใหม่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้คาว่า "รถไฟ" ซึ่งเป็นคาที่มีการใช้สระลดรูป และสะกดไม่ตรงตามมาตรา เป็นต้น
2.8 นโยบายของผู้บริหารระดับสูง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายกรัฐมนตรี และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ยังขาดการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง และส่งผลให้การจัดการศึกษาผิดพลาด เพราะกลุ่มเหล่านี้ จะมองแค่มุมสูงลงมา แต่ไม่ได้มองสภาพปัญหาที่แท้จริง เป็นต้น
3. นโยบายของปัญหาการจัดทานโยบายการศึกษาของประเทศไทย ที่มาจากการศึกษากลยุทธ์ต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจากการศึกษาของภัทรษมน รัตนางกูร (2557)11 พบว่า
3.1 จุดอ่อนของนโยบายการศึกษาในประเทศไทย ที่ขาดการพัฒนา คือ (1) ปัญหาครูอาจารย์ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาของไทยส่วนใหญ่ ยังขาดความเข้าใจว่า การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงนั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อย่างถึงราก ถึงโคน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทางาน ของผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์ เปลี่ยนแปลงหลักสูตร (2) ปัญหาการขาดภาวะผู้นาที่ตระหนักถึงรากเหง้าและความสาคัญของปัญหาการปฏิรูป การศึกษา มองปัญหาเรื่องการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นในสังคมแบบเป็นระบบองค์รวม (3) ปัญหาระบบคัดเลือก การบริหารและการให้ความดีความชอบครูอาจารย์ ผู้บริหารและ บุคลากรทางการศึกษา อยู่ภายใต้ระบบราชการแบบรวมศูนย์กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิรูปทางการศึกษา (4) ปัญหาด้านประสิทธิภาพการใช้งบประมาณการศึกษาในแง่คุณภาพของผู้จบการศึกษา ทุกระดับต่ากว่าหลายประเทศ ทั้งๆที่การจัดสรรงบประมาณการศึกษาของรัฐบาล คิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรืองบประมาณประจาปีทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (5) ปัญหาระบบการประเมินผลและการสอบแข่งขันเพื่อรับการคัดเลือกเรียนต่อใน มหาวิทยาลัย รวมทั้งการศึกษาระดับอื่นๆด้วย ยังเป็นการสอบแบบปรนัย เพื่อวัดความสามารถในการจดจาข้อมูล ทาให้ขัดแย้งกับแนวคิดปฏิรูปการเรียนรู้แบบใหม่ที่เสนอว่า ควรให้ผู้เรียนได้หัด คิดวิเคราะห์เป็น
3.2 อุปสรรคของภารกิจหลักของสถานศึกษามีมากถึง 4 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการทางวิชาการ และด้านการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ทาให้การดาเนินงานไม่สมบูรณ์ครบทุกด้านเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือรัฐบาล รวมถึงสถาบันการศึกษาจาเป็นต้องรับนักศึกษาจานวนมาก และรับนักศึกษาจากท้องถิ่นทาให้เป็นเรื่องยากที่จะดาเนินการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะนโยบายรัฐบาลโดยรวม และสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนส่งผลให้นักศึกษาที่สาเร็จการศึกษาในบางสาขาหางานได้ยากขึ้น
11 ภัทรษมน รัตนางกูร. 2557. วิเคราะห์ปัญหาของระบบการศึกษาไทย กับการแก้ปัญหาของรัฐบาลประเด็นนโยบายเรียนฟรี 15 ปี. [online] http://phatrasamon.blogspot.com/2009/10/15.html.
19
2. ปัญหำที่เกิดขึ้นจำกผู้ปฏิบัติงำน
1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้ปฏิบัติงาน จะมองในมุมของครู หรือผู้ให้ความรู้ ประสิทธิประสาทวิชา เป็นผู้ถ่ายทอดให้กับนักเรียน ซึ่งสาหรับประเทศไทยจะเห็นได้ว่าในอดีตนั้น อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีความสาคัญ มีเกียรติ แตกต่างจากปัจจุบันเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็นได้จากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคณะที่จบออกมาเป็นครูนั้น นักเรียนจะให้ความสาคัญน้อย เลือกเป็นอันดับท้ายๆ หรือสอบเข้าอะไรไม่ได้จึงต้องไปเรียนครู และจากการที่รับฟังคนในสังคมกล่าวว่า ครูได้เงินเดือนน้อย ไม่มีเกียรติ ทาให้ผู้ที่ต้องการเข้ามาเพื่อเป็นครูจริงๆ มีน้อยลงทุกวัน เมื่อไม่มีจิตวิญญาณในการเป็นครูแล้ว การจะสอนให้ได้ประสิทธิภาพ ก็จะลดลง และส่งผลทาให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครูลดลงเช่นกัน ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทาให้ครูส่วนหนึ่งสนใจที่จะหารายได้เลี้ยงครอบครัวมากกว่าการสอนหนังสือ เช่น การสอนพิเศษ การทาอาชีพเสริมมากกว่า ไม่เพียงเท่านั้น ครูที่เป็นครูด้วยจิตวิญญาณที่เหลืออยู่น้อยแล้ว ยังมีเรื่องของการประเมินผล ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพโดยเฉพาะการเลื่อนวิทยฐานะไม่ได้วัดจากความสาเร็จของนักเรียน แต่วัดจากผลงานทางวิชาการ ดังนั้น ครูบางส่วนจึงสนใจที่จะทาผลงานทางวิชาการมากกว่าการสอนเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้จริง ๆ ครูจึงเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้การศึกษาไทยพัฒนาได้ช้า12
2. ปัญหาทางด้านหลักสูตรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อครูผู้สอน ซึ่งปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทยด้านครูผู้สอน จะพบว่า13
2.1 ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
2.2 ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูให้เข้ากับหลักสูตรต่างๆ
2.3 ปัญหาการจัดอบรมครูที่ขาดประสิทธิภาพ และไม่สามารถนาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง
2.4 ปัญหาศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน และทาให้ฝึกอบรมกับครูได้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ตรงเป้าหมายที่กาหนดไว้
2.4 ปัญหาการขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
2.5 ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มุ่งแต่ทาผลงานเพื่อให้ได้รับการเลื่อนตาแหน่ง
2.7 ปัญหาการขาดแคลนเอกสารทางการสอนประเภทต่างๆ เป็นต้น
3. ปัญหำที่เกิดขึ้นจำกระบบกำรศึกษำของไทย
3.1 ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ (1) การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทาให้เด็กเกิดความเครียด (2) การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่ (3) แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ
12 อาภรณ์ รัตน์มณี. 2553. _________________________.
13 พิชญ์สุกานต์ จรพุทธานนท์. 2557. สาระที่ 7 ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร. [online] http://www.gotoknow.org/posts/543276
20
3.2 ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ (1) การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทาให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น และผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้น (2) สถานศึกษาจัดทาเองไม่มีความชัดเจนกรมวิชาการและกรมเจ้าสังกัดมีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน (3) มีเสียงสะท้อนว่านโยบายการจัดทาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่ให้โรงเรียนจัดทาเองไม่มีความชัดเจน (4) ทาให้ครูเกิดความสับสน
3.3 ปัญหาหลักสูตรการอาชีวศึกษา พบว่า ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. คือระดับมัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่า เช่น อ่าน สะกดคาไม่ได้ ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ
3.4 ปัญหาการจัดหลักสูตรสาหรับผู้ด้อยโอกาส พบว่า หลักสูตรที่จัดทาขึ้นมานั้น ยังไม่เหมาะสม เพราะหลักสูตรยังยึดวิธีการแบบเก่าๆไม่สนองความต้องการและความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพราะขาดการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ขาดคุณภาพการศึกษา ขาดงบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา ขาดคุณภาพของผู้สาเร็จการศึกษา ขาดแนวโน้มผู้เข้าเรียน ขาดแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษา
3.5 ปัญหาของระบบการจัดการศึกษาไทย พบว่า14
3.5.1 คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่า ซึ่งในการจัดการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test: O-Net) ทุกปีนั้น ผลที่ออกมามักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกปี คือ เด็กไทยมีความรู้ต่ากว่ามาตรฐานอยู่เสมอ หรือแม้แต่การศึกษาขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development, OECD) ที่รู้กันในชื่อของ PISA (Program for International Students Assessment) พบว่านักเรียนไทยที่จัดได้ว่ามีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงมีเพียง 1% เท่านั้นเอง ทั้งๆที่ใช้เวลาในการเรียนการสอนมากกว่า 8 ชม. ต่อวัน ซึ่ง PISA ยังพบว่า เด็กไทยร้อยละ 74 อ่านภาษาไทยไม่รู้เรื่อง คือ มีตั้งแต่อ่านไม่ออก อ่านแล้วตีความไม่ได้ คิดวิเคราะห์ความหมายไม่ถูก หรือแม้แต่ใช้ภาษาให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาวิชาอื่นๆ แต่ผู้ปกครองหลายท่านกลับมองสภาพเหล่านี้ด้วยความเคยชิน และยังคงเชื่อว่าลูกหลานของจะต้องได้รับการพัฒนาโดยการจัดการศึกษาแบบเดิมอย่างทุกวันนี้
3.5.2 ปัญหาของครู ในประเทศไทย และสังคมไทยกลับเห็นว่าในปัจจุบันวิชาชีพครูนี้ ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับการประกอบอาชีพหมอ หรือวิศวกรตามที่สังคมได้คาดหวัง ประกอบกับประเทศไทยมีการผลิตครูมากถึงปีละประมาณ 12,000 คน ในขณะที่อัตราการบรรจุครูใหม่ในแต่ละปีมีเพียง 3-4 พันคนเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าในแต่ละปี บัณฑิตครูที่จบออกมาใหม่จะมีการตกงานเบื้องต้นเกือบหนึ่งหมื่นคน แต่ในภาพรวมประเทศไทยยังนับว่าขาดแคลนครู โดยเฉพาะครูในสาขาวิชาสาคัญๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา เป็นต้น ยังพบอีกว่า ไม่มีความชัดเจนทางนโยบายในการที่จะ
14 eduzones.com. 2557. 5 ข้อปัญหาของการจัดการศึกษาในระบบไทย. [online] http://blog.eduzones.com/training/129954.
21
สนับสนุนให้ผู้สาเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่ตรงกับเนื้อหาสาระ ในทางตรงกันข้ามยังกลับพบมาตรการในเชิงกีดกันอีกด้วย เช่น การกาหนดให้ผู้ที่จะรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ต้องไปเรียนเพิ่มเติมอีกอย่างน้อยหนึ่งปี เป็นต้น รวมถึงปัญหาหนี้สินครู ที่พบว่า อัตราค่าใช้จ่ายของครู น้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว 3-4 เท่า ซึ่งหมายความว่า บุคคลจะได้รับค่าจ้างเมื่อแรกเข้าทางานสูงมากเพียงพอที่จะยังชีพได้ เมื่อครูไม่ได้รับค่าตอบแทนที่จะสามารถดารงชีพได้อย่างปกติได้ และไม่ต้องไปหางานพิเศษ หรือรายได้พิเศษทา
3.5.3 การขาดวิจัยและพัฒนา ขาดนวัตกรรม และปัญหาความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในปีพ.ศ. 2548 อาจารย์อุดมศึกษาไทยรวมประมาณ 50,000 คน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพียง ประมาณ 2,000 ฉบับ ในจานวนนี้ร้อยละ 90 เกิดมาจากมหาวิทยาลัยเพียง 8 แห่ง ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยที่เหลืออีกร้อยกว่ามหาวิทยาลัยตีพิมพ์เพียงร้อยละ 10 เท่านั้นเอง แต่ถ้าดูในรายละเอียด ยังพบว่าแม้ในมหาวิทยาลัยที่ตีพิมพ์มากที่สุดรวม 8 แห่งนี้ เมื่อเฉลี่ยตามจานวนอาจารย์แล้ว มีการตีพิมพ์เพียงคนละ 0.12 บทความเท่านั้น ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อาจารย์ของเขาจะตีพิมพ์คนละไม่ต่ากว่า 2 ฉบับต่อปี มากกว่าที่ดีที่สุดของถึง 20 เท่า และในภาพรวมการตีพิมพ์ของอาจารย์ในสหรัฐอเมริกา ประมาณปีละ 200,000 ฉบับ ญี่ปุ่น 50,000 ฉบับ สหราชอาณาจักร 40,000 จีน 12,000 อินเดีย เกาหลี สิงคโปร์ ประมาณ 10,000 ฉบับ เป็นต้น ข้อมูลเช่นนี้ชี้ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยของประเทศไทยอ่อนด้อยในด้านการวิจัย ซึ่งเป็นเรื่องที่สาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ หากไม่มีการวิจัย ประเทศไทยก็จะขาดทุนทางปัญญา ในโลกยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เมื่อประเทศขาดงานวิจัย จึงเสียเปรียบทางเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งหมดนี้ เกิดมาจากที่ระบบการศึกษาที่มีความอ่อนแอด้านการวิจัย เป็นต้น
4. ปัญหำที่เกิดขึ้นจำกกำรใช้หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
ในการศึกษาของรุ่งนภา นุตรวงศ์ และคณะ (2553)15 ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลการวิจัยนาร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบประเด็นปัญหาที่สาคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือ
4.1 ปัญหากระบวนการจัดทากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น/ หลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งจากข้อมูลการสารวจความคิดเห็นและการสัมภาษณ์พบว่ามีกลุ่มตัวอย่าง จานวนถึงร้อยละ 86.66 ที่ระบุว่ากระบวนการจัดทากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นได้ดาเนินการครอบคลุมครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการ การศึกษาเอกสารหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น ยกร่างเอกสารกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น ตรวจสอบคุณภาพ และเสนอคณะกรรมการเพื่ออนุมัติการใช้ ในขณะที่กระบวนการหลักสูตรสถานศึกษาพบว่าสถานศึกษาเกือบครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 47.69 มีกระบวนการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาไม่ครบตามขั้นตอน และขั้นตอนที่สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ดาเนินการคือการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และการศึกษากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
15 รุ่งนภา นุตรวงศ์ และคณะ. 2553. สรุปผลการวิจัยนาร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.
22
4.2 ปัญหาการมีส่วนร่วมในเรื่องของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรนั้น พบว่า ความร่วมมือในการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษาต่างๆ ของประเทศไทย มีอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างประชากรส่วนใหญ่ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามีความพึงพอใจในความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีการกระจายอานาจและส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
4.3 ปัญหาการบรรจุสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งผลจากการสารวจความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ พบว่า ศึกษานิเทศก์ร้อยละ 98.09 มีความคิดเห็นด้วยว่า การที่เขตพื้นที่การศึกษาจัดทากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น จะเป็นประโยชน์และช่วยให้สถานศึกษาสามารถจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาได้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการนาร่องการใช้หลักสูตรครั้งนี้ พบว่า มีเขตพื้นที่การศึกษาเพียงร้อยละ 67.65 ที่จัดทากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นเสร็จและจัดส่งให้โรงเรียนแล้ว และผลจากการสัมภาษณ์ศึกษานิเทศก์ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในคุณภาพของกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นที่จัดทาขึ้น เพราะยังขาดความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องต่างๆ รวมถึงระยะเวลาในการจัดทามีจากัด ในส่วนของการนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสู่การเรียนการสอนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ได้บรรจุสอดแทรกในรายวิชาต่างๆ มีสถานศึกษาที่จัดสอนสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นรายวิชาเพิ่มเติมร้อยละ 27.69 ร้อยละ 16.41 จัดไว้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และร้อยละ 6.15 จัดในลักษณะโครงงานบูรณาการ
4.4 ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา: ซึ่งผลการวิจัยที่ได้จากข้อมูลการสารวจความคิดเห็นของบุคลากรระดับสถานศึกษา ที่มีประสบการณ์ตรงในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา และข้อมูลจากความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ที่ติดตามดูแลการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา ให้ผลที่สอดคล้องสัมพันธ์กันถึงปัญหาอุปสรรคสาคัญในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจของบุคลากร ซึ่งบุคลากรทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ที่เพียงพอที่จะทาให้การขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรจากส่วนกลางสู่ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังพบปัญหาครูมีภาระงานอื่นๆ มากมาย นอกเหนือจากการสอน ทาให้ครูผู้สอนไม่สามารถทุ่มเทในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ พบว่า ระยะเวลาในการดาเนินงานขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตั้งแต่การอบรมสร้างความเข้าใจจนกระทั่งการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษามีระยะเวลาที่สั้นมาก ส่งผลให้ขาดเวลาที่เพียงพอในการจัดทากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษา ระยะเวลาที่เร่งรัดกระชั้นชิดเป็นส่วนสาคัญอีกประการหนึ่งที่ทาให้โรงเรียนต้นแบบถึงร้อยละ 56.41 จัดทาหลักสูตรสถานศึกษาไม่เสร็จทันใช้เมื่อเปิดภาคเรียน ประกอบกับการจัดทาหน่วยการเรียนรู้ พบว่า โรงเรียนต้นแบบที่นาร่องการใช้หลักสูตรเพียงร้อยละ 38.97 จัดทาหน่วยการเรียนรู้เพื่อใช้ในการเรียนการสอนเสร็จครบ ทุกหน่วย โรงเรียนที่เหลือมากกว่าครึ่งหนึ่งยังจัดทาหน่วยการเรียนรู้ไม่เสร็จ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าสาเหตุสาคัญที่สุดที่ทาให้การจัดทาหน่วยการเรียนรู้เสร็จไม่ทันใช้ในการจัดการเรียนการสอนเมื่อเปิดภาคเรียนเป็นเพราะครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน รองลงมาคือครูมีภาระงานมาก และไม่มีเวลาเพียงพอตามลาดับ
23
4.5 ปัญหาคุณภาพของกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ศึกษาวิเคราะห์เอกสารกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นจานวน 20 เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ และหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรจานวน 21 โรงเรียน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และขยายโอกาส ซึ่งเอกสารกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาส่วนใหญ่มีองค์ประกอบสาคัญครบถ้วน แต่หากพิจารณาคุณภาพของแต่ละองค์ประกอบ พบว่ายังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ยังมีประเด็นที่ไม่ถูกต้องและต้องปรับปรุงแก้ไขหลายประการ อันเป็นผลมาจากการขาดความเข้าใจที่ชัดเจนของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทาให้ผู้จัดทารายงาน สามารถสรุปได้ว่า การศึกษาของประเทศไทยเริ่มต้นมาจากวัฒนธรรมของคนไทยที่ได้รับการสั่งสอนมาตั้งแต่โบราณ ให้เคารพเชื่อฟังครู อาจารย์ ดังนั้น ครูสมัยก่อนจะดุ และนักเรียนจะเชื่อฟังมาก นักเรียนจะกลัว ไม่กล้าถาม ไม่กล้าตอบ ทาให้ปลูกฝังมาจนถึงปัจจุบัน ยังเป็นระบบที่ฟังจากครูอย่างเดียว ไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ไม่เป็น ซึ่งการศึกษาไทยเป็นระบบป้อนเข้าอย่างเดียว ไม่มีการแลกเปลี่ยนกัน หรือมีก็น้อยมาก มีการสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองน้อย ทาให้เด็กคิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่เป็น ยิ่งมีการเน้นย้าด้วยการสอบโดยอาศัยความจาเป็นหลักนักเรียนก็จะท่องจาอย่างเดียว รวมถึงสังคมปลูกฝังให้นักเรียนต้องเป็นคนเก่ง ซึ่งนักเรียน ก็จะแข่งกันโดยไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เมื่อผิดหวังรุนแรงก็ไม่สามารถแก่ปัญหาตนเองได้ แต่ปัจจุบันจะได้พัฒนาและเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแล้ว เด็กกล้าคิด กล้าทามากขึ้น นับว่าเป็นจุดที่ดีที่จะพัฒนาให้ทัดเทียมประเทศอื่นต่อไป นอกจากนั้นการเรียนการสอนในโรงเรียนก็ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน เครื่องมืออุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนก็แตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐบาลด้วยกัน หรือโรงเรียนเอกชน ส่วนต่างจังหวัดนั้นไม่มีอุปกรณ์สื่อการสอนที่มีความพร้อมเท่ากับโรงเรียนในเมือง ทาให้เด็กมีมาตรฐานไม่เหมือนกันอยู่แล้ว และนาเกณฑ์เดียวกันมาวัดทาให้เกิดความล้มเหลวทางการศึกษา และในโรงเรียนก็ไม่ได้สอนเต็มที่เพราะต้องการให้นักเรียนมาเรียนพิเศษอันนามาซึ่งรายได้เพิ่ม สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาช้าของระบบการศึกษาอีกอย่างหนึ่งคือสถาบันกวดวิชา จะเห็นได้ว่าเป็นที่น่าสนใจมาก มีผู้เรียนเยอะเสียค่าเล่าเรียนแพงมาก แต่ธุรกิจพวกนี้ก็ยังอยู่ได้ แสดงว่ามีคนเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าหากมีการสอนที่ดีในโรงเรียนแล้วเด็กก็จะไม่ต้องมาเรียนพิเศษมากมายขนาดนั้น16
ผู้จัดทารายงาน จึงสรุปประเด็นสาคัญของปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตร คือ
1. ปัญหาครูอาจารย์ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศส่วนใหญ่ ยังขาดความเข้าใจที่แท้จริงว่า การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงคือการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและแตกต่างไปจากเดิม เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทางาน ของผู้บริหารการศึกษาและครูอาจารย์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
2. ปัญหาการขาดภาวะผู้นาที่ตระหนักถึงรากเหง้าและความสาคัญของปัญหาการปฏิรูปการศึกษา โดยมองปัญหาการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นในสังคมแบบเป็นองค์รวม และรู้จัก
16 อาภรณ์ รัตน์มณี. 2553. _________________________.
24
จัดลาดับความสาคัญเร่งด่วนของปัญหา เพื่อก่อให้เกิดการผลักดันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยสามารถปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบได้อย่างแท้จริง
3. ปัญหาระบบคัดเลือก การบริหารและการให้ความดีความชอบครูอาจารย์ ผู้บริหารและ บุคลากรทางการศึกษา อยู่ภายใต้ระบบราชการแบบรวมศูนย์ จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปทางการศึกษา ซึ่งระบบนี้ทาให้ครูอาจารย์ ผู้บริหารส่วนใหญ่ทางานแค่ตามหน้าที่ไปวันๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีการแข่งขัน การตรวจสอบและประเมินผล เพื่อประสิทธิภาพของงานอย่างแท้จริง
4. ปัญหาด้านประสิทธิภาพการใช้งบประมาณการศึกษาในแง่คุณภาพของผู้จบการศึกษา ทุกระดับต่ากว่าหลายประเทศ ทั้งๆที่การจัดสรรงบประมาณการศึกษาของรัฐบาล คิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือกระทั่งพิจารณาในแง่งบประมาณประจาปีทั้งหมดพบว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ตัวอย่างการใช้งบประมาณฯที่ไม่เกิดประสิทธิภาพเช่น นิยมนางบประมาณแค่สร้างอาคาร สถานที่มากกว่าใช้เพื่อวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนสื่อทางการศึกษา
5. ปัญหาระบบการประเมินผลและการสอบแข่งขันเพื่อรับการคัดเลือกเรียนต่อใน มหาวิทยาลัย รวมทั้งการศึกษาระดับอื่นๆ ยังเป็นเพียงการสอบแบบปรนัย เพื่อวัดความสามารถในการจาข้อมูล ซึ่งมีความขัดแย้งกับแนวคิดปฏิรูปการเรียนรู้แบบใหม่ที่เน้นการให้รู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ เป็นต้น

บทที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม ต่อกลุ่มสาระการเรยนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

บทที่1
บทนำ
ควำมเป็นมำของหลักสูตรต่ำงๆ ในประเทศไทย
ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบการจัดการศึกษามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยระบบการศึกษาที่พบครั้งแรก คือ ระบบการศึกษาจากสมัยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา รวมถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งในการจัดการศึกษาของประเทศไทย จะมีพัฒนาการของหลักสูตรต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงประเทศไทยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาไทย ทั้งหมด 5 ครั้ง คือ พุทธศักราช 2503, 2521, 2533, 2544 และ 2551 ซึ่งในการศึกษารายงานฉบับนี้ ผู้จัดทารายงานได้ มีการศึกษาตามรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของกำรศึกษำรำยงำน
1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย
3. เพื่อศึกษาและทาการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ โดยใช้หลักตามทฤษฎี
4. เพื่อทาการอภิปรายผลหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ
ประโยชน์ที่จะได้รับจำกกำรศึกษำรำยงำน
1. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงความเป็นมาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงสภาพปัญหาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย
3. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงผลการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ โดยใช้หลักตามทฤษฎี
4. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงแนวทางของการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ
ซึ่งแต่ละหลักสูตร จะมีองค์ประกอบที่สาคัญของการปรับปรุง คือ1
1 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย. [Online] http://www.l3nr.org/posts/410600.
2
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทย ได้รับการศึกษาตามอัตภาพ โดยผู้เรียนจะต้องได้รับการศึกษาจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นอย่างน้อย ประกอบกับในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องนั้น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับ พ.ศ. 2503 นั้น จะมีการแบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 6 หมวด คือ หมวดคณิตศาสตร์ หมวดวิทยาศาสตร์ หมวดสังคมศึกษา หมวดภาษาไทย หมวดศิลปศึกษา และหมวดพลานามัย แต่สาหรับระดับประถมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศึกษาไทย พ.ศ. 2503 ได้มีการเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษและหัตถศึกษาเข้าไป และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ ได้มีการบังคับให้ผู้เรียน จะต้องมีการเรียนเลขคณิตและพืชคณิตตลอดเป็นเวลาทั้งหมด 3 ปี สาหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะแบ่งแผนกหรือสาขาการเรียนของผู้เรียน เพิ่มเติมอีก 3 แผนก คือ แผนกทั่วไป แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกศิลปะ เป็นต้น และหลักสูตรฯ ดังกล่าว จะมีเนื้อหาสาระที่สาคัญ คือ2
โครงสร้ำงระยะเวลำเรียน 4 : 3 : 3: 2 (:3) โดยหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ฉบับนี้ แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) อนุบาลศึกษา (2) ประโยคประถมศึกษา (3) ประโยคมัธยมศึกษา (4) อุดมศึกษา นอกจากนี้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 แบ่งหลักสูตรฯ ที่ต่อเนื่องกันเป็นตอน 2 ตอน คือ ประโยคประถมศึกษา และประโยคมัธยมศึกษา แต่ละตอนจาแนก คือ (1) ตอนที่ 1 หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนต้น 4 ปี ได้แก่ ชั้น ป.1 - ป.4 และหลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ได้แก่ ป.5 - ป.7 (2) ตอนที่ 2 หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ได้แก่ ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3 และหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นสายสามัญ 2 ปี (ม.ศ.4- ม.ศ. 5) และ สายอาชีพ 3 ปี (เทียบเท่า ม.ศ. 4 - ม.ศ. 6) (3) หลักสูตรพุทธศักราช 2503 ไม่ได้กาหนดการศึกษาภาคบังคับที่ระดับชั้นใด แต่กาหนดอายุเป็นเกณฑ์การเข้าเรียน และบังคับเรียนจนอายุครบ 15 ปีเป็นอย่างน้อย
จุดหมำยของหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503 คือ เพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 15 ปีตามเกณฑ์ เป็นการจัดการศึกษานั้นเพื่อ สนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 เป็นหลักสูตรประโยคประถมศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความเจริญแห่งตน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความสามารถในการครองชีพและมีความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
เนื้อหำสำระของหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503 คือ การนาเอาเนื้อหาขององค์สี่มาใช้ในการจัดการศึกษา ได้แก่ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา และใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาวิชา และกาหนดเนื้อหาเป็นหมวดวิชาต่างๆ คือ
2 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). วิเคราะห์เปรียบเทียบและการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย. [Online] http://rppiyachan.wordpress.com/
3
- ประโยคชั้นประถมศึกษาตอนต้น 4 ปี แบ่งเนื้อหาเป็น 6 หมวดใหญ่ ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ (3) สังคมศึกษา (4) ภาษาไทย (5) ศิลปศึกษา (6) พลานามัย
- ประโยคชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3 ปี แบ่งเนื้อหาเป็น 8 หมวด ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ (3) สังคมศึกษา (4) ภาษาไทย (5) ศิลปศึกษา (6) พลานามัย (7) ภาษาอังกฤษ (8) หัตถศึกษา เพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษ และหัตถศึกษา
- แบ่งเป็นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3) ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นสายสามัญ และสายอาชีพ
- ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3) แบ่งเป็นสายสามัญและ สายอาชีพ ทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพีชคณิต ในเนื้อหาเดียวกัน สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ตลอดทั้ง 3 ปี และเรียนวิชาเฉพาะสายอีก 2 ชั่วโมง
- ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น สายสามัญและสายอาชีพ สายสามัญ (ม.ศ. 4 – ม.ศ. 5) แบ่งเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกทั่วไป แผนกศิลปะ ส่วนสายอาชีพ เรียน 3 ปี (ม.ศ. 4 – ม.ศ. 6) เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ แบ่งเป็น 2 หมวด ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ ก. เป็นวิชาบังคับเรียนในสายสามัญ (2) แผนกวิทยาศาสตร์ และสายอาชีพเรียน ในเนื้อหาเดียวกันสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง (2) คณิตศาสตร์ ข. เป็นวิชาบังคับเรียน ของแผนกศิลปะและแผนกทั่วไปใน สายสามัญ ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 แบ่งการเรียนเป็นปีละ 3 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคต้น ภาคกลาง และภาคปลาย จัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระตามกระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้ในหลักสูตร เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาวิชาและใช้รูปแบบการสอนตามแบบตะวันตก เป็นต้น
กำรวัดผลประเมินผล
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 จะมีการวัดผลประเมินผลโดยตัดสินผลการเรียนด้วยการสอบวัดผลรายปี จากการจัดการสอบวัดผล 2 ครั้ง ได้แก่ การสอบระหว่างปี 1 ครั้งและสอบไล่ปลายปี แล้วนาคะแนนรวมกับการสอบกลางปี ตัดสินผลการเรียนเป็นร้อยละ นักเรียนต้องสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงถือว่าสอบได้ ถ้าได้ต่ากว่าร้อยละ 50 คือ สอบตกต้องเรียนซ้าชั้น
แต่เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ไม่ได้มีการกาหนดเป็นเกณฑ์ภาคบังคับแต่ใช้อายุเป็นเกณฑ์คือให้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 15 ปี นักเรียนประถมศึกษาบางคน อาจจะเรียนไม่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ถ้ามีอายุครบ 15 ปี ดังนั้น ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช จึงจะต้องมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายขึ้นไป เป็นการศึกษาตามอัธยาศัยหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไข ในปี พุทธศักราช 2512 แต่ยังยึดรูปแบบเดิม มีเปลี่ยนบางส่วน คือ ให้เอกชนเข้ามาจัดการศึกษาในระดับอนุบาลถึงมัธยม โดยที่รัฐมีอานาจหน้าที่ควบคุมแนะนาและตรวจสอบการจัดการศึกษาของเอกชน
4
โดยระดับประถมศึกษาอาจจัดในโรงเรียนเดียวกันได้ทั้งระดับประถมศึกษาต้อนต้นและตอนปลาย การจัดชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาอาจจัดในโรงเรียนเดียวกันได้ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาจัดให้มีการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์ ต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย อีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2518 เรียกหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2518 หลังจากนั้นการศึกษาไทยได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 เนื่องจากการศึกษาตามหลักสูตร 2503 ไม่สามารถพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การศึกษาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เป็นการศึกษาแบบแพ้คัดออก คนมีโอกาสเรียนในระดับสูงน้อยมาก
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 ถึงหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรังปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคม และประเทศชาติ ซึ่งเนื้อหาสาระของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2501 ฉบับนี้ แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาในปีพ.ศ. 2533 โดยทาการเพิ่มจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทาประโยชน์เพื่อสังคม ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) ได้มีการเพิ่มเนื้อหาสาระ คือ วิชาบังคับแกน ได้แก่ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา และวิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม เป็นต้น3 ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้เกิดขึ้นจากการอาศัยอานาจแห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศกาหนดการเปลี่ยนระบบชั้นเรียนและการใช้หลักสูตรใหม่ ทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี ตามแผนการศึกษาชาติ 2520 เรียก หลักสูตร พุทธศักราช 2521 เป็นการเปลี่ยนใหม่ทั้งระบบ ให้มีระดับประถมศึกษา 6 ปี ยกเลิกชั้นประถมศึกษาปีที่7 ระดับมัธยมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาใช้อักษรย่อว่า “ม.” ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเปลี่ยนระดับชั้นและหลักสูตรเป็นระยะเวลา 6 ปี ดังนั้นในช่วงเวลา 6 ปีจัดการศึกษา 2หลักสูตร ดังนี้4
3 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). _________________.
4 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). _________________.
5
ระดับประถมศึกษำ
ปี พ.ศ. 2521 ป. 1 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 2 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2522 ป. 1 - 2 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 3 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2523 ใช้ ป. 1 - 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 4 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2524 ใช้ ป. 1 - 4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 5 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2525 ใช้ ป. 1 - 5 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2526 ใช้ ป. 1 - 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ใช้หลักสูตรใหม่ทั้งระบบ
ระดับมัธยมศึกษำ
ปี พ.ศ. 2521 ใช้ ม. 1 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 1-3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2522 ใช้ ม. 1- 2 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 2-3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2523 ใช้ ม. 1- 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2524 ใช้ ม. 1-4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2525 ใช้ ม. 1-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2526 ใช้ ม. 1-4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521
นอกจากนี้ การจัดระบบชั้นเรียนในหลักสูตรฯพุทธศักราช 2521 โครงสร้างระยะเวลาเรียน 6 : 3 : 3 คือ หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 เป็นหลักสูตรซึ่งกาหนดมาจากส่วนกลาง แบ่งเวลาเรียนเป็นปีละ 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ เปิดสอนสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 7 คาบ ใช้เวลาเรียนคาบละ 50 นาที และมีกิจกรรมในเวลาเรียน 1 คาบ/สัปดาห์ ผู้เรียนต้องเรียนให้ครบตามที่หลักสูตรกาหนดแต่ต้องผ่านวิชาบังคับภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีตกซ้าชั้น สอบตกวิชาใดเรียนซ่อมวิชานั้นๆ กาหนดการเรียนเป็นหน่วยการเรียน ซึ่งมีน้าหนักสัมพันธ์กับเวลาเรียน เช่น 4 คาบ / สัปดาห์ มีน้าหนัก 2 หน่วยการเรียน หลักสูตรเป็นผู้กาหนดจุดประสงค์และคาอธิบายรายวิชาไว้ทุกรายวิชา
จุดมุ่งหมำย
หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้มีความรู้ความสามารถ มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ และหลักสูตรพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทาประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หลักสูตรมัธยมศึกษาได้กาหนดจุดประสงค์รายวิชาและคาอธิบายรายวิชาไว้ครบถ้วนทุกรายวิชา ประกอบด้วย (1) ให้เล็งเห็นความสาคัญของภาษาไทย ในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารของประชาชาติ และเป็นปัจจัยทะนุบารุงความสามัคคีของประชาชาติ (2) ให้เข้าใจว่าการใช้ภาษาไทยได้ดี
6
เป็นการช่วยให้เกิดความร่วมมือของคนในชาติ นามาซึ่งความสมัครสมานกัน และทาให้สามารถประกอบกิจการต่างๆได้โดยมีประสิทธิภาพ (3) ให้สามารถใช้ภาษาไทยได้โดยรู้ที่เหมาะที่ควร ตามวัยและศักยภาพของนักเรียนเพื่อประโยชน์ทั้งในการศึกษาวิชาต่างๆ และในการดาเนินชีวิต (3) ให้มีความใคร่รู้ใคร่เรียน พอใจที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านและฟัง (4) ให้สามารถคิดค้นปัญหาที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ที่ได้ฟังได้อ่านโดยใช้วิจารญาณ รู้จักขบปัญหาเหล่านั้นจนเกิดปัญญา มีความคิดแจ่มแจ้งขึ้นเป็นลาดับและนาผลจากการคิดค้นที่ถูกต้องไปปฏิบัติในการดาเนินชีวิต (5) ให้สามารถพิจารณาหนังสือ งานเขียน งานประพันธ์ที่ได้อ่าน ให้แลเห็นทั้งส่วนดีและส่วนบกพร่อง (6) ให้เห็นคุณค่าของวรรณคดีและความสาคัญของงานประพันธ์กับการใช้ภาษาโดยมีรสนิยมว่าเป็นสิ่งสาคัญในวัฒนธรรมของชาติ
เนื้อหำ
เนื้อหาวิชาที่จัดให้เรียนของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น ส่วนกลางเป็นผู้กาหนดทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกระดับประถมศึกษา เนื้อหาสาระที่เรียนมี 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) (2) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต (3) กลุ่มลักษณะนิสัย (4) กลุ่มการงาน ต่อมาปรับปรุงใหม่เป็น หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ปรับปรุง 2533) ได้จาแนกเนื้อหาสาระที่เรียนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาบังคับแกน มีวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา (2) วิชาบังคับเลือก มีวิชาเลือกเสรี และกิจกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา แบ่งเป็น หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2521 แบ่งเนื้อหาสาระเป็น 5 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มมีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ได้แก่
1. กลุ่มวิชาภาษา ได้แก่ ภาษาไทย (วิชาบังคับและวิชาเลือก) และภาษาต่างประเทศ (วิชาเลือก)
2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (บังคับ) คณิตศาสตร์ (วิชาบังคับและวิชาเลือก)
3. กลุ่มวิชาสังคมศึกษา ได้แก่ วิชาสังคมศึกษา เป็นวิชาบังคับ และมีวิชาเลือก
4. กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ วิชาพลานามัย (วิชาบังคับและวิชาเลือก) ศิลปศึกษา (วิชาบังคับและวิชาเลือก) กิจกรรมต่างๆ (วิชาบังคับ)
5. กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ ได้แก่ วิชาการงาน (บังคับ) อาชีพ (เลือก)
* หมายเหตุ เนื้อหาในกลุ่มวิชาภาษาไทย จะแยกเป็นทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียนหลักภาษา เนื้อหาในส่วนที่เป็นหลักภาษาไทยได้กาหนดไว้ชัดเจนว่ามีเนื้อหาเรื่องใดบ้าง
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น จะมีการจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ปีละ 2 ภาคเรียน การเรียนจัดเป็นระบบหน่วยการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนปีละ 33 หน่วยการเรียน วิชาภาษาไทยแบ่งเป็นวิชาบังคับ ปีละ 2 รายวิชา วิชาละ 2 หน่วยการเรียน การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชาที่หลักสูตรกาหนด
7
ไว้ โดยการอ่านทานองเสนาะตามคาประพันธ์ให้เป็นไปตามหนังสือเรียน ด้านการเขียนนอกจากการเขียนแบบต่างๆ แล้วได้กาหนดให้เขียนตามคาบอก การเขียนตัวสะกดการันต์ ในแต่ละชั้นเรียนจะกาหนดไว้ชัดเจนด้านเนื้อหาที่ต้องนามาจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเน้นที่เนื้อหาวิชาตามที่ส่วนกลางกาหนด การจัดการเรียนการสอนจึงจัดโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาเป็นส่วนมาก
กำรวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น จะมีการวัดผลการเรียนเป็นหน่วยการเรียน แบ่งระดับผลการเรียน เป็น 4 3 2 1 และ 0 โดยเทียบกับร้อยละ ต่ากว่าร้อยละ 50 ได้ระดับผลการเรียน 0 ร้อยละ 50-59 ได้ระดับผลการเรียน 1 ร้อยละ 60-69 ได้ระดับผลการเรียน 2 ร้อยละ 70-79 ได้ระดับผลการเรียน 3 ร้อยละ 80 ขึ้นไปได้ระดับผลการเรียน 4 และได้กาหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น เช่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนต้องเรียนผ่านทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกรวมกันไม่ต่ากว่า 90 หน่วยการเรียน แต่ต้องผ่านวิชาบังคับ วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีการเรียนซ้าชั้น ถ้าสอบตกวิชาใดสามารถสอบแก้ตัวได้
ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การใช้ หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 ได้เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2524 ซึ่งตามหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)มีอยู่ 3 ฉบับ คือ
1. หลักสูตรประถมศึกษา 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. หลักสูตรมัธยมศึกษาศึกษาตอนต้น 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
3. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้มีการปรับปรุงมาเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2533 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2533) โดยมีรายละเอียดของการปรับเปลี่ยน คือ
โครงสร้างเวลา เป็นในลักษณะ 6:3:3 คือ ระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ระยะเวลาที่ใช้ 2521 – 2543
หลักการ/แนวคิด สนองความต้องการของสังคม เป็นหลักสูตรแบบเน้นสาระที่เป็นความเป็นจริง
จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาสติปัญญาและเหตุผล แสวงหาความรู้เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต
เนื้อหา เนื้อหาต่างๆ ส่วนกลางเป็นผู้กาหนด จาแนกเป็นวิชาบังคมและวิชาเลือก มี 5 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มวิชามีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ภาษาอังกฤษ เป็นวิชาเลือก ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจัดเนื้อตามแผนการเรียน
8
การจัดประสบการณ์ ปรัชญาสารัตถนิยม และผสมผสาน เน้นเนื้อหาวิชา การประเมินผลวัดผลเป็นรายจุดประสงค์ ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค แต่ละวิชามีผลการเรียน 4 3 2 1 0 นาผลการเรียนแต่ละวิชาคูณด้วยน้าหนักของหน่วยการเรียน แล้วรวมหาค่าเฉลี่ย 0 – 4 ซึ่งกาหนดเกณฑ์การจบในแต่ระดับชั้นโดยใช้จานวนหน่วยการเรียนตามเกณฑ์ ต้องสอบผ่านวิชาบังคับภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีการเรียนซ้าชั้น สอบไม่ผ่านรายวิชาใดสามารถสอบแก้ตัว
ข้อจากัดของหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 และฉบับปรับปรุงแก้ไข 2533 ประกอบด้วย (1) การกาหนดหลักสูตรจากส่วนกลางไม่สามารถสะท้อนสภาพความต้องการของท้องถิ่นและสถานศึกษา (2) การจัดหลักสูตรและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังไม่สามารถผลักดันให้ปะเทศไทยเป็นผู้นาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (3) การนาหลักสูตรไปใช้ยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานทางการคิด (4) การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารและค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น และมีการแบ่งสาระการเรียนรู้ ออกเป็น 8 กลุ่มสาระ คือ (1) สาระการเรียนรู้ภาษาไทย (2) สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (3) สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (4) สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา (5) สาระการเรียนรู้ศาสนา (6) สาระการเรียนรู้วัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา (7) ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (8) และภาษาต่างประเทศ โดยสาระการเรียนรู้ จะมุ่งที่การใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน5 ตามการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ดังนี้6
จุดมุ่งหมำย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
5 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). ________________.
6 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). ________________.
9
เนื้อหำตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สามารถแบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรกาหนดสาระการเรียนรู้และจานวนเวลาเรียนไว้กว้างๆ กลุ่มวิชาต่างๆ เป็นผู้กาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ คาอธิบายรายวิชาและเนื้อหา สถานศึกษาเป็นผู้กาหนดคุณลักษณะผู้เรียน
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จะมีการจัดประสบการณ์เรียนรู้มีความยืดหยุ่น ผู้ใช้หลักสูตรเป็นผู้กาหนดเนื้อหาสาระ เวลาเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทาให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนรู้ เน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ
กำรวัดผลและประเมินผลตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จะมีการกาหนดการวัดผลและประเมินผลมีลักษณะเช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 คือ วัดผลเป็นหน่วยการเรียน มีเพิ่มเติมระดับผลการเรียนจาก 4 3 2 1 เป็นคะแนนร้อยละ คือ
ร้อยละ 50 – 54 เป็นระดับผลการเรียน 1
ร้อยละ 55 – 59 เป็นระดับผลการเรียน 1.5
ร้อยละ 60 – 64 เป็นระดับผลการเรียน 2
ร้อยละ 65 – 69 เป็นระดับผลการเรียน 2.5
ร้อยละ 70 – 74 เป็นระดับผลการเรียน 3
ร้อยละ 75 – 79 เป็นระดับผลการเรียน 3.5
ร้อยละ 80 ขึ้นไป ระดับผลการเรียน 4
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 25517 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยมีการกาหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก พร้อมทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรฯ ให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งเน้นการกระจายอานาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งมีหลักการในการพัฒนา
7 กระทรวงศึกษาธิการ. 2557. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ
10
หลักสูตรฯ คือ (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ (2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นเป้าหมายสาหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล (3) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ (4) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอานาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น (5) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ (6) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (7) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาสาหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
นอกจากนี้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียน คือ (1) มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต (3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย (4) มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ (5) การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีคุณลักษณะที่สาคัญ คือ8
จุดหมำยของหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกาหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในการปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดมั่นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งบาเพ็ญประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
8 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). ___________________.
11
เนื้อหำตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีเนื้อหาต่างๆ ที่สาคัญ ประกอบด้วยสมรรถนะหลักที่ผู้เรียนพึงมี ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสารการคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ กาหนดมาตรฐานเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมดุลทั้งทางสมองและพหุปัญญา แบ่งเนื้อหาเป็น 8 กลุ่มสาระ หลักสูตรได้กาหนดสาระและมาตรฐานรวมทั้งตัวชี้วัด โดยปรับเปลี่ยนจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แบ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน มี 2 กิจกรรม (กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีและกิจกรรมชุมนุม) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กำหนดเนื้อหำกำรเรียนเป็นหน่วยกำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ได้กาหนดตัวชี้วัดและรหัสตัวชี้วัด แทนผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดจะระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ กาหนดคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม ดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามเป้าหมายของตัวชี้วัด แบ่งตัวชี้วัดเป็น 3 ระดับ ระดับประถมศึกษา (ป. 1-6) ตัวชี้วัดใช้อักษร ป. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวชี้วัดใช้อักษร ม. 1 - 3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวชี้วัดใช้อักษร ม. 4 – 6
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีการจัดการเรียนรู้ มีกระบวนการและวิธีที่หลากหลาย ผู้สอนต้องคานึงถึงธรรมชาติของวิชา และต้องคานึงถึงการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ การอยู่ร่วมกันในสังคม ควบคู่กับสติปัญญา เลือกวิธีจัดการเรียนการสอนที่เน้นรูปแบบผู้เรียนเป็นสาคัญ ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ศึกษาค้นคว้า ฝึกการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ศึกษาวิเคราะห์ เลือกรูปแบบการสอนและทฤษฎี การสอนมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องให้ความสาคัญกับสื่อการเรียนการสอน ศึกษาวิเคราะห์ เลือกใช้สื่อหลายประเภท ให้มีความเหมาะกับเนื้อหาและกิจกรรม
กำรวัดผลและประเมินผลตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนควรจัดควบคู่กันไปตลอดเวลา เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การเรียน พัฒนาการระหว่างเรียนทุกด้านของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทดสอบเป็นระยะๆ และปลายภาค/ปลายปี นามาบันทึก วิเคราะห์ แปล
12
ความหมาย รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งด้านพัฒนาการของผู้เรียนและผลการทดสอบ วัดผลประเมินผลให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านเนื้อหาสาระ มาตรฐานตัวชี้วัด สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน ใช้วิธีวัดที่หลากหลาย สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา ลักษณะเนื้อหาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทาให้ผู้จัดทารายงาน พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 ถึง พุทธศักราช 2551 ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆ ให้เข้ากับบริบทของแต่ละยุค แต่ละสมัย ซึ่งรายละเอียดการปรับเปลี่ยน ผู้จัดทารายงาน ได้ทาการศึกษาข้อมูลมาจากกรรณิการ์ ทองดี (2557) ระพีร์ ปิยจันทร์ (2557) กระทรวงศึกษาธิการ (2557) และนักวิชาการท่านต่างๆ ที่ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับต่างๆ สามารถสรุปประเด็นสาคัญของกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ตามตารางต่อไปนี้
13
ตาราง 1.1 แสดงผลการเปรียบเทียบหลักสูตร พุทธศักราช 2503 – 2551
ข้อเปรียบเทียบ
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งให้ผู้เรียนมีความเจริญแห่งตน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความ สามารถในการครองชีพและมีความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
หลักสูตรมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มุ่งให้เกิดแก่ผู้เรียน
หลักสูตรไม่ได้กาหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วางแนวทางให้สถานศึกษากาหนดเอง
กาหนดไว้ชัดเจน และเพิ่มเติมคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ รวมทั้งกาหนดไว้ในเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน
การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้
ปรัชญาสารัตถนิยม เน้นเนื้อหาวิชา เน้นการสอนแบบบรรยาย และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบ่งการเรียนเป็นปีละ 3 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคต้น ภาคกลาง และภาคปลาย จัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระตามกระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้ในหลักสูตร เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหา วิชาและใช้รูปแบบการสอนตามแบบตะวันตก
วัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชากาหนดไว้เป็นภาพรวม 3 ด้าน คือ
- ด้านพุทธิพิสัย
- ด้านทักษะพิสัย
- ด้านจิตพิสัย
ทั้งนี้จะแตกต่างกันไปตามหลักสูตร มีจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นตัวกาหนดทิศทางการจัดการเรียนการสอน โดยปรัชญา
สารัตถนิยม และผสมผสาน เน้นเนื้อหาวิชา
มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระหมายถึงผลการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ ครอบคลุม 3 ด้าน
- ด้านความรู้
- ด้านทักษะกระบวนการ
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
และ ใช้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสถานศึกษาเป็นตัวกาหนดการสอน
สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งกาหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจาเป็นต้องเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
มาตรฐาน ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้
เรียนตามเอกัตภาพตามอัธยาศัย
จุดประสงค์ของการเรียนรู้รายวิชา และคาอธิบายรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรค่อนข้างตายตัว
มาตรฐานและสาระการเรียนรู้เป็นแนวทางให้กลุ่มสาระกาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
กาหนดตัวชี้วัดและสาระแกนกลางไว้ชัดเจน ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น กาหนดเป็นรายปี มัธยมศึกษาตอนปลายกาหนดเป็นช่วงชั้น
เนื้อหารายวิชา / สาระการเรียนรู้
เน้นองค์สี่ (พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา หัตถศึกษา) กาหนดเป็นหมวดวิชา ส่วนกลางเป็นผู้กาหนด
เนื้อหารายวิชาหลักสูตรกาหนดไว้ในคาอธิบายรายวิชาว่าจะเรียนอะไรบ้าง
สาระการเรียนรู้กาหนดเป็นช่วงชั้น เพื่อความยืดหยุ่นของสถานศึกษา
กาหนดสาระมาตรฐานการเรียนรู้ไว้เป็น 8 กลุ่มสาระเช่นเดิม และปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ให้ชัดเจน ลดความ
13
14
ข้อเปรียบเทียบ
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
ซ้าซ้อนเหลือ 67 มาตรฐานการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผล
นักเรียนต้องสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงถือว่าสอบได้ ถ้าได้ต่ากว่าร้อยละ 50 คือ สอบตกต้องเรียนซ้าชั้น
การวางแผนการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้
- ทาโครงการสอนรายปีรายภาค
- วางแผนการประเมินยึดจุดประสงค์การเรียนรู้
- ทาแผนการสอนรายคาบ
การวางแผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้
- จัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ
- วางแผนการประเมินยึดมาตรฐานการเรียนรู้
- จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5. สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ
* ที่มา: จากการศึกษากรรณิการ์ ทองดี (2557) ระพีร์ ปิยจันทร์ (2557) กระทรวงศึกษาธิการ (2557) และนักวิชาการท่านต่างๆ
14
15
จากข้อมูลดังกล่าว ทาให้ผู้จัดทารายงาน พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนามาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 - พุทธศักราช 2544 เป็นลาดับ และมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

บทที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ

บทที่ 1
บทนำ
ควำมเป็นมำของหลักสูตรต่ำงๆ ในประเทศไทย
ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบการจัดการศึกษามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยระบบการศึกษาที่พบครั้งแรก คือ ระบบการศึกษาจากสมัยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา รวมถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งในการจัดการศึกษาของประเทศไทย จะมีพัฒนาการของหลักสูตรต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงประเทศไทยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาไทย ทั้งหมด 5 ครั้ง คือ พุทธศักราช 2503, 2521, 2533, 2544 และ 2551 ซึ่งในการศึกษารายงานฉบับนี้ ผู้จัดทารายงานได้ มีการศึกษาตามรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของกำรศึกษำรำยงำน
1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย
3. เพื่อศึกษาและทาการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ โดยใช้หลักตามทฤษฎี
4. เพื่อทาการอภิปรายผลหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ
ประโยชน์ที่จะได้รับจำกกำรศึกษำรำยงำน
1. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงความเป็นมาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงสภาพปัญหาของหลักสูตรต่างๆ ในประเทศไทย
3. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงผลการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ โดยใช้หลักตามทฤษฎี
4. คณะครูของโรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ ได้ทราบถึงแนวทางของการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้าใจ
ซึ่งแต่ละหลักสูตร จะมีองค์ประกอบที่สาคัญของการปรับปรุง คือ1
1 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย. [Online] http://www.l3nr.org/posts/410600.
2
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทย ได้รับการศึกษาตามอัตภาพ โดยผู้เรียนจะต้องได้รับการศึกษาจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นอย่างน้อย ประกอบกับในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องนั้น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับ พ.ศ. 2503 นั้น จะมีการแบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 6 หมวด คือ หมวดคณิตศาสตร์ หมวดวิทยาศาสตร์ หมวดสังคมศึกษา หมวดภาษาไทย หมวดศิลปศึกษา และหมวดพลานามัย แต่สาหรับระดับประถมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศึกษาไทย พ.ศ. 2503 ได้มีการเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษและหัตถศึกษาเข้าไป และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ ได้มีการบังคับให้ผู้เรียน จะต้องมีการเรียนเลขคณิตและพืชคณิตตลอดเป็นเวลาทั้งหมด 3 ปี สาหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะแบ่งแผนกหรือสาขาการเรียนของผู้เรียน เพิ่มเติมอีก 3 แผนก คือ แผนกทั่วไป แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกศิลปะ เป็นต้น และหลักสูตรฯ ดังกล่าว จะมีเนื้อหาสาระที่สาคัญ คือ2
โครงสร้ำงระยะเวลำเรียน 4 : 3 : 3: 2 (:3) โดยหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ฉบับนี้ แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) อนุบาลศึกษา (2) ประโยคประถมศึกษา (3) ประโยคมัธยมศึกษา (4) อุดมศึกษา นอกจากนี้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 แบ่งหลักสูตรฯ ที่ต่อเนื่องกันเป็นตอน 2 ตอน คือ ประโยคประถมศึกษา และประโยคมัธยมศึกษา แต่ละตอนจาแนก คือ (1) ตอนที่ 1 หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนต้น 4 ปี ได้แก่ ชั้น ป.1 - ป.4 และหลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ได้แก่ ป.5 - ป.7 (2) ตอนที่ 2 หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ได้แก่ ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3 และหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นสายสามัญ 2 ปี (ม.ศ.4- ม.ศ. 5) และ สายอาชีพ 3 ปี (เทียบเท่า ม.ศ. 4 - ม.ศ. 6) (3) หลักสูตรพุทธศักราช 2503 ไม่ได้กาหนดการศึกษาภาคบังคับที่ระดับชั้นใด แต่กาหนดอายุเป็นเกณฑ์การเข้าเรียน และบังคับเรียนจนอายุครบ 15 ปีเป็นอย่างน้อย
จุดหมำยของหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503 คือ เพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 15 ปีตามเกณฑ์ เป็นการจัดการศึกษานั้นเพื่อ สนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 เป็นหลักสูตรประโยคประถมศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความเจริญแห่งตน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความสามารถในการครองชีพและมีความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
เนื้อหำสำระของหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503 คือ การนาเอาเนื้อหาขององค์สี่มาใช้ในการจัดการศึกษา ได้แก่ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา และใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาวิชา และกาหนดเนื้อหาเป็นหมวดวิชาต่างๆ คือ
2 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). วิเคราะห์เปรียบเทียบและการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย. [Online] http://rppiyachan.wordpress.com/
3
- ประโยคชั้นประถมศึกษาตอนต้น 4 ปี แบ่งเนื้อหาเป็น 6 หมวดใหญ่ ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ (3) สังคมศึกษา (4) ภาษาไทย (5) ศิลปศึกษา (6) พลานามัย
- ประโยคชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3 ปี แบ่งเนื้อหาเป็น 8 หมวด ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ (3) สังคมศึกษา (4) ภาษาไทย (5) ศิลปศึกษา (6) พลานามัย (7) ภาษาอังกฤษ (8) หัตถศึกษา เพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษ และหัตถศึกษา
- แบ่งเป็นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3) ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นสายสามัญ และสายอาชีพ
- ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3) แบ่งเป็นสายสามัญและ สายอาชีพ ทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพีชคณิต ในเนื้อหาเดียวกัน สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ตลอดทั้ง 3 ปี และเรียนวิชาเฉพาะสายอีก 2 ชั่วโมง
- ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น สายสามัญและสายอาชีพ สายสามัญ (ม.ศ. 4 – ม.ศ. 5) แบ่งเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกทั่วไป แผนกศิลปะ ส่วนสายอาชีพ เรียน 3 ปี (ม.ศ. 4 – ม.ศ. 6) เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ แบ่งเป็น 2 หมวด ได้แก่ (1) คณิตศาสตร์ ก. เป็นวิชาบังคับเรียนในสายสามัญ (2) แผนกวิทยาศาสตร์ และสายอาชีพเรียน ในเนื้อหาเดียวกันสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง (2) คณิตศาสตร์ ข. เป็นวิชาบังคับเรียน ของแผนกศิลปะและแผนกทั่วไปใน สายสามัญ ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 แบ่งการเรียนเป็นปีละ 3 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคต้น ภาคกลาง และภาคปลาย จัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระตามกระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้ในหลักสูตร เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาวิชาและใช้รูปแบบการสอนตามแบบตะวันตก เป็นต้น
กำรวัดผลประเมินผล
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 จะมีการวัดผลประเมินผลโดยตัดสินผลการเรียนด้วยการสอบวัดผลรายปี จากการจัดการสอบวัดผล 2 ครั้ง ได้แก่ การสอบระหว่างปี 1 ครั้งและสอบไล่ปลายปี แล้วนาคะแนนรวมกับการสอบกลางปี ตัดสินผลการเรียนเป็นร้อยละ นักเรียนต้องสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงถือว่าสอบได้ ถ้าได้ต่ากว่าร้อยละ 50 คือ สอบตกต้องเรียนซ้าชั้น
แต่เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ไม่ได้มีการกาหนดเป็นเกณฑ์ภาคบังคับแต่ใช้อายุเป็นเกณฑ์คือให้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 15 ปี นักเรียนประถมศึกษาบางคน อาจจะเรียนไม่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ถ้ามีอายุครบ 15 ปี ดังนั้น ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช จึงจะต้องมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายขึ้นไป เป็นการศึกษาตามอัธยาศัยหลักสูตรพุทธศักราช 2503 ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไข ในปี พุทธศักราช 2512 แต่ยังยึดรูปแบบเดิม มีเปลี่ยนบางส่วน คือ ให้เอกชนเข้ามาจัดการศึกษาในระดับอนุบาลถึงมัธยม โดยที่รัฐมีอานาจหน้าที่ควบคุมแนะนาและตรวจสอบการจัดการศึกษาของเอกชน
4
โดยระดับประถมศึกษาอาจจัดในโรงเรียนเดียวกันได้ทั้งระดับประถมศึกษาต้อนต้นและตอนปลาย การจัดชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาอาจจัดในโรงเรียนเดียวกันได้ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาจัดให้มีการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์ ต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย อีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2518 เรียกหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2518 หลังจากนั้นการศึกษาไทยได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 เนื่องจากการศึกษาตามหลักสูตร 2503 ไม่สามารถพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การศึกษาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เป็นการศึกษาแบบแพ้คัดออก คนมีโอกาสเรียนในระดับสูงน้อยมาก
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 ถึงหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรังปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคม และประเทศชาติ ซึ่งเนื้อหาสาระของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2501 ฉบับนี้ แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาในปีพ.ศ. 2533 โดยทาการเพิ่มจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทาประโยชน์เพื่อสังคม ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) ได้มีการเพิ่มเนื้อหาสาระ คือ วิชาบังคับแกน ได้แก่ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา และวิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม เป็นต้น3 ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้เกิดขึ้นจากการอาศัยอานาจแห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศกาหนดการเปลี่ยนระบบชั้นเรียนและการใช้หลักสูตรใหม่ ทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี ตามแผนการศึกษาชาติ 2520 เรียก หลักสูตร พุทธศักราช 2521 เป็นการเปลี่ยนใหม่ทั้งระบบ ให้มีระดับประถมศึกษา 6 ปี ยกเลิกชั้นประถมศึกษาปีที่7 ระดับมัธยมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาใช้อักษรย่อว่า “ม.” ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเปลี่ยนระดับชั้นและหลักสูตรเป็นระยะเวลา 6 ปี ดังนั้นในช่วงเวลา 6 ปีจัดการศึกษา 2หลักสูตร ดังนี้4
3 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). _________________.
4 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). _________________.
5
ระดับประถมศึกษำ
ปี พ.ศ. 2521 ป. 1 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 2 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2522 ป. 1 - 2 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 3 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2523 ใช้ ป. 1 - 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 4 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2524 ใช้ ป. 1 - 4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 5 – 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2525 ใช้ ป. 1 - 5 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ป. 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ปี พ.ศ. 2526 ใช้ ป. 1 - 6 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ใช้หลักสูตรใหม่ทั้งระบบ
ระดับมัธยมศึกษำ
ปี พ.ศ. 2521 ใช้ ม. 1 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 1-3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2522 ใช้ ม. 1- 2 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 2-3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2523 ใช้ ม. 1- 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 3 ใช้หลักสูตร ฯ 2503
ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2524 ใช้ ม. 1-4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 4-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2525 ใช้ ม. 1-5 ใช้หลักสูตร ฯ 2521 ม.ศ. 5 ใช้หลักสูตร ฯ 2518
ปี พ.ศ. 2526 ใช้ ม. 1-4 ใช้หลักสูตร ฯ 2521
นอกจากนี้ การจัดระบบชั้นเรียนในหลักสูตรฯพุทธศักราช 2521 โครงสร้างระยะเวลาเรียน 6 : 3 : 3 คือ หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 เป็นหลักสูตรซึ่งกาหนดมาจากส่วนกลาง แบ่งเวลาเรียนเป็นปีละ 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ เปิดสอนสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 7 คาบ ใช้เวลาเรียนคาบละ 50 นาที และมีกิจกรรมในเวลาเรียน 1 คาบ/สัปดาห์ ผู้เรียนต้องเรียนให้ครบตามที่หลักสูตรกาหนดแต่ต้องผ่านวิชาบังคับภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีตกซ้าชั้น สอบตกวิชาใดเรียนซ่อมวิชานั้นๆ กาหนดการเรียนเป็นหน่วยการเรียน ซึ่งมีน้าหนักสัมพันธ์กับเวลาเรียน เช่น 4 คาบ / สัปดาห์ มีน้าหนัก 2 หน่วยการเรียน หลักสูตรเป็นผู้กาหนดจุดประสงค์และคาอธิบายรายวิชาไว้ทุกรายวิชา
จุดมุ่งหมำย
หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้มีความรู้ความสามารถ มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ และหลักสูตรพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทาประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หลักสูตรมัธยมศึกษาได้กาหนดจุดประสงค์รายวิชาและคาอธิบายรายวิชาไว้ครบถ้วนทุกรายวิชา ประกอบด้วย (1) ให้เล็งเห็นความสาคัญของภาษาไทย ในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารของประชาชาติ และเป็นปัจจัยทะนุบารุงความสามัคคีของประชาชาติ (2) ให้เข้าใจว่าการใช้ภาษาไทยได้ดี
6
เป็นการช่วยให้เกิดความร่วมมือของคนในชาติ นามาซึ่งความสมัครสมานกัน และทาให้สามารถประกอบกิจการต่างๆได้โดยมีประสิทธิภาพ (3) ให้สามารถใช้ภาษาไทยได้โดยรู้ที่เหมาะที่ควร ตามวัยและศักยภาพของนักเรียนเพื่อประโยชน์ทั้งในการศึกษาวิชาต่างๆ และในการดาเนินชีวิต (3) ให้มีความใคร่รู้ใคร่เรียน พอใจที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านและฟัง (4) ให้สามารถคิดค้นปัญหาที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ที่ได้ฟังได้อ่านโดยใช้วิจารญาณ รู้จักขบปัญหาเหล่านั้นจนเกิดปัญญา มีความคิดแจ่มแจ้งขึ้นเป็นลาดับและนาผลจากการคิดค้นที่ถูกต้องไปปฏิบัติในการดาเนินชีวิต (5) ให้สามารถพิจารณาหนังสือ งานเขียน งานประพันธ์ที่ได้อ่าน ให้แลเห็นทั้งส่วนดีและส่วนบกพร่อง (6) ให้เห็นคุณค่าของวรรณคดีและความสาคัญของงานประพันธ์กับการใช้ภาษาโดยมีรสนิยมว่าเป็นสิ่งสาคัญในวัฒนธรรมของชาติ
เนื้อหำ
เนื้อหาวิชาที่จัดให้เรียนของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น ส่วนกลางเป็นผู้กาหนดทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกระดับประถมศึกษา เนื้อหาสาระที่เรียนมี 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) (2) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต (3) กลุ่มลักษณะนิสัย (4) กลุ่มการงาน ต่อมาปรับปรุงใหม่เป็น หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ปรับปรุง 2533) ได้จาแนกเนื้อหาสาระที่เรียนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาบังคับแกน มีวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา (2) วิชาบังคับเลือก มีวิชาเลือกเสรี และกิจกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา แบ่งเป็น หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2521 แบ่งเนื้อหาสาระเป็น 5 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มมีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ได้แก่
1. กลุ่มวิชาภาษา ได้แก่ ภาษาไทย (วิชาบังคับและวิชาเลือก) และภาษาต่างประเทศ (วิชาเลือก)
2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (บังคับ) คณิตศาสตร์ (วิชาบังคับและวิชาเลือก)
3. กลุ่มวิชาสังคมศึกษา ได้แก่ วิชาสังคมศึกษา เป็นวิชาบังคับ และมีวิชาเลือก
4. กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ วิชาพลานามัย (วิชาบังคับและวิชาเลือก) ศิลปศึกษา (วิชาบังคับและวิชาเลือก) กิจกรรมต่างๆ (วิชาบังคับ)
5. กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ ได้แก่ วิชาการงาน (บังคับ) อาชีพ (เลือก)
* หมายเหตุ เนื้อหาในกลุ่มวิชาภาษาไทย จะแยกเป็นทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียนหลักภาษา เนื้อหาในส่วนที่เป็นหลักภาษาไทยได้กาหนดไว้ชัดเจนว่ามีเนื้อหาเรื่องใดบ้าง
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น จะมีการจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ปีละ 2 ภาคเรียน การเรียนจัดเป็นระบบหน่วยการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนปีละ 33 หน่วยการเรียน วิชาภาษาไทยแบ่งเป็นวิชาบังคับ ปีละ 2 รายวิชา วิชาละ 2 หน่วยการเรียน การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชาที่หลักสูตรกาหนด
7
ไว้ โดยการอ่านทานองเสนาะตามคาประพันธ์ให้เป็นไปตามหนังสือเรียน ด้านการเขียนนอกจากการเขียนแบบต่างๆ แล้วได้กาหนดให้เขียนตามคาบอก การเขียนตัวสะกดการันต์ ในแต่ละชั้นเรียนจะกาหนดไว้ชัดเจนด้านเนื้อหาที่ต้องนามาจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเน้นที่เนื้อหาวิชาตามที่ส่วนกลางกาหนด การจัดการเรียนการสอนจึงจัดโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหาเป็นส่วนมาก
กำรวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 นั้น จะมีการวัดผลการเรียนเป็นหน่วยการเรียน แบ่งระดับผลการเรียน เป็น 4 3 2 1 และ 0 โดยเทียบกับร้อยละ ต่ากว่าร้อยละ 50 ได้ระดับผลการเรียน 0 ร้อยละ 50-59 ได้ระดับผลการเรียน 1 ร้อยละ 60-69 ได้ระดับผลการเรียน 2 ร้อยละ 70-79 ได้ระดับผลการเรียน 3 ร้อยละ 80 ขึ้นไปได้ระดับผลการเรียน 4 และได้กาหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น เช่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนต้องเรียนผ่านทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกรวมกันไม่ต่ากว่า 90 หน่วยการเรียน แต่ต้องผ่านวิชาบังคับ วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีการเรียนซ้าชั้น ถ้าสอบตกวิชาใดสามารถสอบแก้ตัวได้
ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การใช้ หลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 ได้เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2524 ซึ่งตามหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)มีอยู่ 3 ฉบับ คือ
1. หลักสูตรประถมศึกษา 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
2. หลักสูตรมัธยมศึกษาศึกษาตอนต้น 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
3. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 ได้มีการปรับปรุงมาเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2533 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2533) โดยมีรายละเอียดของการปรับเปลี่ยน คือ
โครงสร้างเวลา เป็นในลักษณะ 6:3:3 คือ ระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี ระยะเวลาที่ใช้ 2521 – 2543
หลักการ/แนวคิด สนองความต้องการของสังคม เป็นหลักสูตรแบบเน้นสาระที่เป็นความเป็นจริง
จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาสติปัญญาและเหตุผล แสวงหาความรู้เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต
เนื้อหา เนื้อหาต่างๆ ส่วนกลางเป็นผู้กาหนด จาแนกเป็นวิชาบังคมและวิชาเลือก มี 5 กลุ่มวิชา แต่ละกลุ่มวิชามีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ภาษาอังกฤษ เป็นวิชาเลือก ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจัดเนื้อตามแผนการเรียน
8
การจัดประสบการณ์ ปรัชญาสารัตถนิยม และผสมผสาน เน้นเนื้อหาวิชา การประเมินผลวัดผลเป็นรายจุดประสงค์ ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค แต่ละวิชามีผลการเรียน 4 3 2 1 0 นาผลการเรียนแต่ละวิชาคูณด้วยน้าหนักของหน่วยการเรียน แล้วรวมหาค่าเฉลี่ย 0 – 4 ซึ่งกาหนดเกณฑ์การจบในแต่ระดับชั้นโดยใช้จานวนหน่วยการเรียนตามเกณฑ์ ต้องสอบผ่านวิชาบังคับภาษาไทยและสังคมศึกษา ไม่มีการเรียนซ้าชั้น สอบไม่ผ่านรายวิชาใดสามารถสอบแก้ตัว
ข้อจากัดของหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 และฉบับปรับปรุงแก้ไข 2533 ประกอบด้วย (1) การกาหนดหลักสูตรจากส่วนกลางไม่สามารถสะท้อนสภาพความต้องการของท้องถิ่นและสถานศึกษา (2) การจัดหลักสูตรและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังไม่สามารถผลักดันให้ปะเทศไทยเป็นผู้นาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (3) การนาหลักสูตรไปใช้ยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานทางการคิด (4) การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารและค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น และมีการแบ่งสาระการเรียนรู้ ออกเป็น 8 กลุ่มสาระ คือ (1) สาระการเรียนรู้ภาษาไทย (2) สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (3) สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (4) สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา (5) สาระการเรียนรู้ศาสนา (6) สาระการเรียนรู้วัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา (7) ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (8) และภาษาต่างประเทศ โดยสาระการเรียนรู้ จะมุ่งที่การใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน5 ตามการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ดังนี้6
จุดมุ่งหมำย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
5 กรรณิการ์ ทองดี. (2557). ________________.
6 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). ________________.
9
เนื้อหำตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สามารถแบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรกาหนดสาระการเรียนรู้และจานวนเวลาเรียนไว้กว้างๆ กลุ่มวิชาต่างๆ เป็นผู้กาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ คาอธิบายรายวิชาและเนื้อหา สถานศึกษาเป็นผู้กาหนดคุณลักษณะผู้เรียน
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จะมีการจัดประสบการณ์เรียนรู้มีความยืดหยุ่น ผู้ใช้หลักสูตรเป็นผู้กาหนดเนื้อหาสาระ เวลาเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทาให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนรู้ เน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพ
กำรวัดผลและประเมินผลตำมหลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จะมีการกาหนดการวัดผลและประเมินผลมีลักษณะเช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 คือ วัดผลเป็นหน่วยการเรียน มีเพิ่มเติมระดับผลการเรียนจาก 4 3 2 1 เป็นคะแนนร้อยละ คือ
ร้อยละ 50 – 54 เป็นระดับผลการเรียน 1
ร้อยละ 55 – 59 เป็นระดับผลการเรียน 1.5
ร้อยละ 60 – 64 เป็นระดับผลการเรียน 2
ร้อยละ 65 – 69 เป็นระดับผลการเรียน 2.5
ร้อยละ 70 – 74 เป็นระดับผลการเรียน 3
ร้อยละ 75 – 79 เป็นระดับผลการเรียน 3.5
ร้อยละ 80 ขึ้นไป ระดับผลการเรียน 4
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 25517 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยมีการกาหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก พร้อมทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรฯ ให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งเน้นการกระจายอานาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งมีหลักการในการพัฒนา
7 กระทรวงศึกษาธิการ. 2557. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ
10
หลักสูตรฯ คือ (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ (2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นเป้าหมายสาหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล (3) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ (4) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอานาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น (5) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ (6) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (7) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาสาหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
นอกจากนี้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียน คือ (1) มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต (3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย (4) มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ (5) การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีคุณลักษณะที่สาคัญ คือ8
จุดหมำยของหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกาหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในการปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดมั่นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งบาเพ็ญประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
8 ระพีร์ ปิยจันทร์. (2557). ___________________.
11
เนื้อหำตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีเนื้อหาต่างๆ ที่สาคัญ ประกอบด้วยสมรรถนะหลักที่ผู้เรียนพึงมี ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสารการคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ กาหนดมาตรฐานเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมดุลทั้งทางสมองและพหุปัญญา แบ่งเนื้อหาเป็น 8 กลุ่มสาระ หลักสูตรได้กาหนดสาระและมาตรฐานรวมทั้งตัวชี้วัด โดยปรับเปลี่ยนจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แบ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน มี 2 กิจกรรม (กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีและกิจกรรมชุมนุม) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กำหนดเนื้อหำกำรเรียนเป็นหน่วยกำรเรียนรู้ตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ได้กาหนดตัวชี้วัดและรหัสตัวชี้วัด แทนผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดจะระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ กาหนดคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม ดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามเป้าหมายของตัวชี้วัด แบ่งตัวชี้วัดเป็น 3 ระดับ ระดับประถมศึกษา (ป. 1-6) ตัวชี้วัดใช้อักษร ป. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวชี้วัดใช้อักษร ม. 1 - 3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวชี้วัดใช้อักษร ม. 4 – 6
กำรจัดประสบกำรณ์กำรเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีการจัดการเรียนรู้ มีกระบวนการและวิธีที่หลากหลาย ผู้สอนต้องคานึงถึงธรรมชาติของวิชา และต้องคานึงถึงการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ การอยู่ร่วมกันในสังคม ควบคู่กับสติปัญญา เลือกวิธีจัดการเรียนการสอนที่เน้นรูปแบบผู้เรียนเป็นสาคัญ ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ศึกษาค้นคว้า ฝึกการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ศึกษาวิเคราะห์ เลือกรูปแบบการสอนและทฤษฎี การสอนมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องให้ความสาคัญกับสื่อการเรียนการสอน ศึกษาวิเคราะห์ เลือกใช้สื่อหลายประเภท ให้มีความเหมาะกับเนื้อหาและกิจกรรม
กำรวัดผลและประเมินผลตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนควรจัดควบคู่กันไปตลอดเวลา เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การเรียน พัฒนาการระหว่างเรียนทุกด้านของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทดสอบเป็นระยะๆ และปลายภาค/ปลายปี นามาบันทึก วิเคราะห์ แปล
12
ความหมาย รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งด้านพัฒนาการของผู้เรียนและผลการทดสอบ วัดผลประเมินผลให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านเนื้อหาสาระ มาตรฐานตัวชี้วัด สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน ใช้วิธีวัดที่หลากหลาย สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา ลักษณะเนื้อหาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทาให้ผู้จัดทารายงาน พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 ถึง พุทธศักราช 2551 ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆ ให้เข้ากับบริบทของแต่ละยุค แต่ละสมัย ซึ่งรายละเอียดการปรับเปลี่ยน ผู้จัดทารายงาน ได้ทาการศึกษาข้อมูลมาจากกรรณิการ์ ทองดี (2557) ระพีร์ ปิยจันทร์ (2557) กระทรวงศึกษาธิการ (2557) และนักวิชาการท่านต่างๆ ที่ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับต่างๆ สามารถสรุปประเด็นสาคัญของกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ตามตารางต่อไปนี้
13
ตาราง 1.1 แสดงผลการเปรียบเทียบหลักสูตร พุทธศักราช 2503 – 2551
ข้อเปรียบเทียบ
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งให้ผู้เรียนมีความเจริญแห่งตน มีมนุษยสัมพันธ์ มีความ สามารถในการครองชีพและมีความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
หลักสูตรมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มุ่งให้เกิดแก่ผู้เรียน
หลักสูตรไม่ได้กาหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วางแนวทางให้สถานศึกษากาหนดเอง
กาหนดไว้ชัดเจน และเพิ่มเติมคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ รวมทั้งกาหนดไว้ในเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน
การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้
ปรัชญาสารัตถนิยม เน้นเนื้อหาวิชา เน้นการสอนแบบบรรยาย และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบ่งการเรียนเป็นปีละ 3 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคต้น ภาคกลาง และภาคปลาย จัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระตามกระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้ในหลักสูตร เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสอนที่ยึดเนื้อหา วิชาและใช้รูปแบบการสอนตามแบบตะวันตก
วัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชากาหนดไว้เป็นภาพรวม 3 ด้าน คือ
- ด้านพุทธิพิสัย
- ด้านทักษะพิสัย
- ด้านจิตพิสัย
ทั้งนี้จะแตกต่างกันไปตามหลักสูตร มีจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นตัวกาหนดทิศทางการจัดการเรียนการสอน โดยปรัชญา
สารัตถนิยม และผสมผสาน เน้นเนื้อหาวิชา
มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระหมายถึงผลการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ ครอบคลุม 3 ด้าน
- ด้านความรู้
- ด้านทักษะกระบวนการ
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
และ ใช้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสถานศึกษาเป็นตัวกาหนดการสอน
สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งกาหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจาเป็นต้องเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
มาตรฐาน ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้
เรียนตามเอกัตภาพตามอัธยาศัย
จุดประสงค์ของการเรียนรู้รายวิชา และคาอธิบายรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรค่อนข้างตายตัว
มาตรฐานและสาระการเรียนรู้เป็นแนวทางให้กลุ่มสาระกาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
กาหนดตัวชี้วัดและสาระแกนกลางไว้ชัดเจน ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น กาหนดเป็นรายปี มัธยมศึกษาตอนปลายกาหนดเป็นช่วงชั้น
เนื้อหารายวิชา / สาระการเรียนรู้
เน้นองค์สี่ (พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา หัตถศึกษา) กาหนดเป็นหมวดวิชา ส่วนกลางเป็นผู้กาหนด
เนื้อหารายวิชาหลักสูตรกาหนดไว้ในคาอธิบายรายวิชาว่าจะเรียนอะไรบ้าง
สาระการเรียนรู้กาหนดเป็นช่วงชั้น เพื่อความยืดหยุ่นของสถานศึกษา
กาหนดสาระมาตรฐานการเรียนรู้ไว้เป็น 8 กลุ่มสาระเช่นเดิม และปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ให้ชัดเจน ลดความ
13
14
ข้อเปรียบเทียบ
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2503
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)
หลักสูตรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2544
หลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน พุทธศักรำช 2551
ซ้าซ้อนเหลือ 67 มาตรฐานการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผล
นักเรียนต้องสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงถือว่าสอบได้ ถ้าได้ต่ากว่าร้อยละ 50 คือ สอบตกต้องเรียนซ้าชั้น
การวางแผนการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้
- ทาโครงการสอนรายปีรายภาค
- วางแผนการประเมินยึดจุดประสงค์การเรียนรู้
- ทาแผนการสอนรายคาบ
การวางแผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้
- จัดทาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ
- วางแผนการประเมินยึดมาตรฐานการเรียนรู้
- จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5. สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ
* ที่มา: จากการศึกษากรรณิการ์ ทองดี (2557) ระพีร์ ปิยจันทร์ (2557) กระทรวงศึกษาธิการ (2557) และนักวิชาการท่านต่างๆ
14
15
จากข้อมูลดังกล่าว ทาให้ผู้จัดทารายงาน พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนามาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 - พุทธศักราช 2544 เป็นลาดับ และมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556


บทกวีอมตะของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์


บทกวีอมตะของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่ว่า ..

ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้

ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล

ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์

ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน

ครูคือผู้ ผู้ชี้นำ ทางความคิด

ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน

ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร

ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน

ครูคือผู้ ยกระดับ วิญญาณมนุษย์

ให้สูงสุด กว่าสัตว์ เดรัจฉาน

ปลุกสำนึก สั่งสม อุดมการณ์

มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง

ครูจึงเป็น นักสร้าง ผู้ยิ่งใหญ่

สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง

สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง