บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นาฎยศัพท์

บทความนี้เป็นผลงานที่ได้ คศ 3 ผู้ที่สนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการค้นคว้า และการเรียนการสอน

นาฎยศัพท์
นาฏยศัพท์   อ่านว่า    นาด ตะ ยะ สับ
นาฏยศัพท์     หมายถึง   ศัพท์เฉพาะทางนาฏศิลป์ไทย  ที่ใช้เกี่ยวกับการเรียกท่ารำ
 

การฝึกรำไทย  

            ต้องมีพื้นฐานการปฏิบัติของนาฏยศัพท์เบื้องต้น ดังนี้

1.จีบ  คือ  การใช้นิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้  ส่วนนิ้วกลาง  นิ้วนาง และนิ้วก้อยเหยียดตึงแยกห่างจากกันแล้วหักข้อมือเข้าหาลำแขน




ขั้นตอนการจีบ
    1.   ใช้นิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายปลายนิ้วชี้
    2.   กรีดนิ้วทั้ง 3 ออก
    3.   หักข้อมือ




 

 
จีบมี 2 ลักษณะ  คือ  จีบหงาย และ จีบคว่ำ

จีบหงายคือจีบที่อยู่ในลักษณะหงายข้อมือและท้องแขนขึ้น
จีบคว่ำคือจีบที่อยู่ในลักษณะ คว่ำมือลง


2.      ตั้งวง    คือ การใช้แขนกางออกให้ได้ส่วนโค้งครึ่งวงกลมตั้งมือ แบนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้  นิ้วกลาง  นิ้วนางและนิ้วก้อย   ส่วนนิ้วหัวแม่มือ งอเข้าหาฝ่ามือ  แล้วหักข้อมือเข้าหาลำแขน

ขั้นตอนการตั้งวง

1.  ใช้แขนกางออกให้ได้ส่วนโค้งครึ่งวงกลม                
2.  ตั้งมือแบนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้  นิ้วกลาง 
นิ้วนาง และ นิ้วก้อย
3.  นิ้วหัวแม่มืองอเข้าหาฝ่ามือ
4.  หักข้อมือเข้าหาลำแขน







5 ความคิดเห็น:

  1. เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานการรำที่ดี เป็นประโยชน์กับเด็ก ๆ นักเรียนมาก ขอบคุณมากนะคะ จะติดตามสาระดี ๆ นี้ต่อไปคะ

    ตอบลบ
  2. ดีมากเลยคระ..เป็นสื่อที่เข้าใจง่ายย มาลงเลื่อยๆๆนะคระ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณค่ะ ที่นำท่่ารำมาให้พวกเราดู

    มีสาระมากก ค่ะ :p

    ตอบลบ
  4. ขอขอบคุณค่ะ ที่นำความรุ้มาให้ พวกเราดูค่ะ
    พวกหนูจะติดตาม นะค่ะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

    ตอบลบ