บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นาฎยศัพท์

บทความนี้เป็นผลงานที่ได้ คศ 3 ผู้ที่สนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการค้นคว้า และการเรียนการสอน

นาฎยศัพท์
นาฏยศัพท์   อ่านว่า    นาด ตะ ยะ สับ
นาฏยศัพท์     หมายถึง   ศัพท์เฉพาะทางนาฏศิลป์ไทย  ที่ใช้เกี่ยวกับการเรียกท่ารำ
 

การฝึกรำไทย  

            ต้องมีพื้นฐานการปฏิบัติของนาฏยศัพท์เบื้องต้น ดังนี้

1.จีบ  คือ  การใช้นิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้  ส่วนนิ้วกลาง  นิ้วนาง และนิ้วก้อยเหยียดตึงแยกห่างจากกันแล้วหักข้อมือเข้าหาลำแขน




ขั้นตอนการจีบ
    1.   ใช้นิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายปลายนิ้วชี้
    2.   กรีดนิ้วทั้ง 3 ออก
    3.   หักข้อมือ




 

 
จีบมี 2 ลักษณะ  คือ  จีบหงาย และ จีบคว่ำ

จีบหงายคือจีบที่อยู่ในลักษณะหงายข้อมือและท้องแขนขึ้น
จีบคว่ำคือจีบที่อยู่ในลักษณะ คว่ำมือลง


2.      ตั้งวง    คือ การใช้แขนกางออกให้ได้ส่วนโค้งครึ่งวงกลมตั้งมือ แบนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้  นิ้วกลาง  นิ้วนางและนิ้วก้อย   ส่วนนิ้วหัวแม่มือ งอเข้าหาฝ่ามือ  แล้วหักข้อมือเข้าหาลำแขน

ขั้นตอนการตั้งวง

1.  ใช้แขนกางออกให้ได้ส่วนโค้งครึ่งวงกลม                
2.  ตั้งมือแบนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้  นิ้วกลาง 
นิ้วนาง และ นิ้วก้อย
3.  นิ้วหัวแม่มืองอเข้าหาฝ่ามือ
4.  หักข้อมือเข้าหาลำแขน







วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

องค์ประกอบนาฎศิลป์

องค์ประกอบนาฎศิลป์
                จังหวะและทำนองการเคลื่อนไหว  อารมณ์และความรู้สึก  ภาษาท่า นาฎยศัพท์ รูปแบบของการแสดง การแต่งกาย
  • ภาษาท่า   การแสดงท่าทางแทนคำพูด  ใช้แสดงกิริยาหรืออิริยาบถ  และใช้แสดงถึงอารมณ์ภายใน
  • ส่วนขาและเท้า    กิริยาแสดง เช่น กระทบ ยืดยุบ ประเท้า กระดกเท้า กระทุ้ง จรด ขยับ ซอย วางส้น ยกเท้า  ถัดเท้า
  • ส่วนแขนและมือ  กิริยาที่แสดง เช่น จีบ ตั้งวง ล่อแก้ว ม้วนมือ สะบัดมือ กรายมือ ส่ายมือ
  • ส่วนลำตัว   กิริยาที่แสดง เช่น ยักตัว โย้ตัว โยกตัว
  • ส่วนศีรษะใบหน้าและไหล่    กิริยาที่แสดง เช่น เอียงศีรษะ เอียงไหล่ กดไหล่ กล่อมไหล่ กล่อมหน้า
  • นาฏยศัพท์  ศัพท์เฉพาะทางนาฎศิลป์  ที่ใช้เกี่ยวกับการเรียกท่ารำ  กิริยาที่แสดงมีส่วนศีรษะใบหน้าและไหล่   ส่วนแขนและมือ  ส่วนของลำตัว  ส่วนขาและเท้า
เมื่อศึกษาองค์ประกอบนาฎศิลป์ทั้งด้านความรู้และปฏิบัติแล้วก็เป็นเรื่องของการนำไปใช้ ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
  • รูปแบบของการอนุรักษ์สืบทอด โดยการฝึกตามลักษณะ/แบบแผน /มาตรฐาน/พื้นเมือง และประเภทของการแสดง ระบำ  รำ ฟ้อน อันเป็นมรดกของชาติ
  • รูปแบบการสร้างสรรค์การประดิษฐ์ท่า  การนำภาษาท่า  ภาษานาฎศิลป์ หรือ นาฏยศัพท์มาออกแบบ  ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับจังหวะทำนอง  บทเพลง  บทร้อง  ลีลา ความสวยงาม
  • รูปแบบการเป็นผู้ชม
  • รูปแบบการเป็นผู้แสดง